เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๒๑ มกราคม ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดโครงการฝึกอบรมวิชาการ เรื่อง "เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา" โดยตอนหนึ่งของหัวข้อ "กรณีศึกษาเขตแดนระหว่างประเทศ-ไทยกับเพื่อนบ้านและการแก้ไขปัญหาของมรดกโลก" นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานที่ปรึกษา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAs) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทั่วโลกมีมรดกโลก ๙๑๑ แห่งในกลุ่มอาเซียน มี ๓๐ แห่งใน ๗ ประเทศ สำหรับไทยและกัมพูชานั้น แทนที่จะเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศก็กลายเป็นความขัดแย้ง แทนที่จะเป็นสันติสุข กลับเป็นสงคราม วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการเจรจาทวิภาคี กลับไปศาลโลก หรืออนุญาโตตุลาการ หรือทำสงครามแย่งชิง แต่วิธีแก้ปัญหาระยะยาวคือ การเสนอมรดกโลกร่วมทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ข้ามเขตแดน เหนือพนมดงรักและลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ทั้งของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ควรมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน นายอัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์โครงการไทยศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตามที่บอกว่าปราสาทพระวิหารมีทางขึ้นฝั่งไทยเท่านั้น เป็นเรื่องไม่จริง เพราะตอนนั้นมีทางขึ้นจากกัมพูชาแล้วทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ขึ้นถึงโคปุระที่หนึ่ง และขอบอกว่าการแบ่งเขตแดนตามแนวสันปันน้ำ ไม่ใช่ว่าใช้สันที่สูงที่สุด แต่หากมีหลายสันปันน้ำ ต้องยึดสันปันน้ำที่อยู่ต่อเนื่องกันยาวที่สุดเป็นหลัก นายดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า ไทยกับพม่ามีหลายประเด็นที่อาจเป็นจุดวาบไฟได้ในอนาคต ซึ่งมีมากกว่า ๓๐ จุด เขตแดนเปรียบเสมือนคมมีดที่แขวนไว้ระหว่างสงครามกับสันติภาพ รัฐบาลพม่าเติมกำลังตามจุดชายแดนมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐไทยและรัฐพม่าต้องเผชิญหน้ากันมากขึ้น เรื่องการปักปันเขตแดน |
ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ |
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น