วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สถานทูตเปรู ฉลอง 100 ปี การค้นพบ มาชูปิกชู ป้อมปราการแห่งอินคา
คดีปราสาทพระวิหาร ไทยมีแต่เสมอตัวกับแพ้
ในตอนท้ายแถลงการณ์ระบุว่าอาเซียนสนับสนุนให้อินโดนีเซียประธานอาเซียน ปรึกษาหารือกับไทยและกัมพูชาต่อไป รวมถึงการส่ง คณะผู้สังเกตการณ์ จาก อินโดนีเซีย โดยไม่ช้าด้วย
คำสั่งของศาลโลกฉบับนี้ มีหลายฝ่ายแสดงความข้องใจว่า ไทยเป็นฝ่ายแพ้เขมร แต่ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ยืนยันว่าไทยไม่แพ้ แถมยังแสดงความพึงพอใจต่อคำสั่งของศาลโลกฉบับนี้ โดยประกาศว่าพร้อมจะปฏิบัติตาม แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องถอนทหารพร้อมกันทั้งสองฝ่าย
ผมฟังแล้วก็ยังงงๆ ในเมื่อ ศาลโลกไม่รับคำร้องค้านฝ่ายไทย แต่ รับคำร้องฝ่ายเขมร แถมยังมีคำสั่งตามคำร้องฝ่ายเขมร ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และสั่งให้ไทยปฏิบัติตามด้วย แล้วมันน่าพอใจตรงไหน
วันก่อนไปเจอเพื่อนผู้พิพากษา ก็เลยถามด้วยความข้องใจ
ฟังคำตอบท่านผู้พิพากษาแล้วก็ถึงบางอ้อ ท่านบอกว่า เมื่อศาลโลกไม่รับคำร้องฝ่ายไทย แต่รับคำร้องฝ่ายเขมร ก็เท่ากับว่า ฝ่ายไทยตกเป็นรอง ไปแล้ว ในอนาคต ไม่ว่าศาลโลกจะพิพากษาออกมาอย่างไร ไทยก็มีแต่ "เสมอตัว" กับ "แพ้" สองทางเท่านั้น ไม่มีทางชนะเลย เช่น ศาลโลกตีความว่าพื้นที่เฉพาะปราสาทพระวิหารที่เป็นของเขมร ไทยก็เสมอตัว แต่ถ้าศาลโลกตีความว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรด้วย ไทยก็ต้องเสียดินแดนอีกครั้งแน่นอน
เมื่อได้ฟังอย่างนี้ ผมจึงไม่แปลกใจที่เห็น นายกฯฮุน เซน ผู้นำเขมร ออกมาขานรับยินดีจะเจรจากับไทยเรื่องการถอนทหาร แต่ นายกฯฮุน เซน ยืนอย่างมีชั้นเชิงว่า กัมพูชาจะไม่ถอนทหารออกจากพื้นที่ จนกว่าจะมีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้าไปด้วย เพื่อกดดันไทยให้เดินไปตามเกมที่ นายกฯฮุน เซน กำหนด
ไม่เพียงแค่นี้ นายกฯฮุน เซน ผู้นำกัมพูชา ยังเดินเกมสองกดดันไทยต่อด้วยการ ส่งร่างข้อเสนอที่จะตกลงกับไทย ที่ ฝ่ายกัมพูชาร่างขึ้นเอง มายัง ฝ่ายไทย และส่งไปยัง อินโดนีเซีย กับ ศาลโลก โดยระบุให้ ไทย กัมพูชา และ ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย แจ้งต่อศาลโลก เกี่ยวกับรายละเอียดของเจ้าหน้าที่ทหารและจุดประจำการในเขตปลอดทหาร
ขณะที่ นายกฯอภิสิทธิ์ ยังแผ่นเสียงตกร่องเดิม ยืนยันสองฝ่ายต้องเจรจาถอนทหารก่อน เรื่องผู้สังเกตการณ์เป็นอีกเรื่อง แต่ก็ไม่เห็นมีการเดินเกมใดๆ เพื่อกดดันให้อาเซียนเห็นชอบกับข้อเสนอของไทย
ที่แย่กว่านั้น กระทรวงต่างประเทศ ยุค นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรี ก็ยังงงๆ ไม่รู้จะเดินหน้าต่อกันอย่างไร หลังจากที่ ประธานอาเซียน ออกแถลงการณ์ไปแล้ว รัฐมนตรีกษิต ได้แต่เรียกประชุมกรมกองที่เกี่ยวข้องในกระทรวง บอกจะขอคุยภายในก่อน จะทำคู่ขนานไปกับการส่งมอบงานให้รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ โบ้ยไปโน่น
ไม่น่าเชื่อ จนป่านนี้ยังคุยกันภายในไม่รู้เรื่อง แล้วจะไปสู้รบกับใคร
เห็นการทำงานของ รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ การเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศ ในเรื่องนี้แล้ว คนไทยอาจต้องเสียใจซ้ำสอง เพราะโอกาสที่จะแพ้ และ เสียดินแดน
ครั้งที่สอง ซ้ำรอยรัฐบาลประชาธิปัตย์ในปี 2505 เป็นไปได้สูงยิ่ง ผมก็ได้แต่ภาวนา ขอให้ "เสมอตัว" ก็พอใจแล้ว หวังว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกฯ จะดู รัฐบาลมาร์ค ไว้เป็นบทเรียนเพื่อเลือกรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ ขออย่าให้เหมือนเดิม.
"ลม เปลี่ยนทิศ"
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
นายกฯรับ ไทย-เขมร ยังไม่หารือกัน-ส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาเป็นเรื่องยาก
21 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ขอให้ไทยส่งเอกสารข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารไปให้ภายในวันที่ 22 ก.ค.ว่า เป็นการขอให้ไทยส่งข้อสังเกตที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี ที่สำคัญคือ กรอบเวลาในการส่งคำชี้แจงในคดีหลัก ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นในการให้ส่งคำชี้แจงต่างๆ ยืนยันว่า ข้อสังเกตที่จะส่งไป ยังไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีหลัก เป็นเพียงการตกลงเรื่องกรอบเวลาในการส่งเอกสารไปชี้แจง ซึ่งเท่าที่สอบถามจากกระทรวงการต่างประเทศเมื่อคืนวันที่ 20 ก.ค. ได้รับการยืนยันว่า น่าจะใช้เวลาราว 3-4 เดือน เพื่อให้สามารถตัดสินคดีได้ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ 5 ใน 15 คน ภายในเดือนก.พ.ปี 2555
ผู้สื่อข่าวถามถึงการถอนทหารว่า ทางกัมพูชาได้ติดต่อมาหรือยังว่าจะเจรจากับไทยเมื่อใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่มี มีแต่การพูดเรื่องการเอาผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามา ท่าทีเรายังเหมือนเดิม ถ้าจะให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามา จะต้องให้ทหารออกไปจากพื้นที่ก่อน ซึ่งมุมมองยังไม่ตรงกัน ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องพูดคุยกันก่อน
เมื่อถามว่า จุดยืนฝ่ายไทยต่อการส่งผู้สังเกตการณ์คืออะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ควรจะต้องคุยขั้นตอนต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน ไม่ควรจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
เมื่อถามอีกว่า ฝ่ายกัมพูชาจะอ้างคำสั่งของศาลโลก เพื่อดึงผู้สังเกตการณ์เข้ามาทันทีได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากัมพูชาจะอ้างคำสั่งศาล ก็ต้องถอนทหารทันทีก่อน เพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายไปขอศาล และศาลบอกให้กัมพูชาถอนทหารทันที
ต่อข้อถามว่า ก่อนที่อินโดนีเซียจะดำเนินการอะไร ควรจะถามมาไทยก่อนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในกรอบที่อินโดนีเซียจะดำเนินการ ต้องมีการพูดคุยกันอย่างน้อย 2 ฝ่าย 3 ฝ่าย และอาจรวมไปถึงอาเซียน
เมื่อถามว่า แปลว่าเวลานี้กัมพูชายังไม่แสดงท่าทีว่าจะคุยกับไทยเมื่อใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยัง มีแต่การออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ไทยปฏิบัติ แต่ไม่ได้บอกว่ากัมพูชาจะปฏิบัติหรือไม่ และเมื่อใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ท้ายสุดกัมพูชาจะยอมคุยกับไทยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หนีไม่พ้นหรอก เพราะจากการประชุมอาเซียนครั้งสุดท้าย ชัดเจนว่าอินโดนีเซียก็อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายคุยกัน ส่วนคุยกันแล้วจะมีใครนั่งฟังอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง
เมื่อถามว่า การพูดคุยในเวทีอาเซียน ควรจะเกิดก่อนมีผู้สังเกตการณ์เข้ามาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากัมพูชายืนยันว่า เคารพการตัดสินของศาล ควรจะมาคุยกับไทยเรื่องการถอนทหาร เพราะประเด็นหลักคือการลดความตึงเครียด และความสุ่มเสี่ยงต่อการปะทะกันบริเวณชายแดน
เมื่อถามว่า แปลว่าถ้ายังนับหนึ่งเรื่องการพูดคุยกันไม่ได้ การส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามา ก็ยังเป็นเรื่องยาก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่ายังเป็นเรื่องยาก ส่วนการพูดคุยกัน จะมีฝ่ายอื่นเข้ามาร่วมรับฟังด้วยหรือไม่ ยังเป็นรายละเอียดที่ควรจะให้กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมไปหารือว่า จะพูดคุยกันในรูปแบบใด และจะทาบทามให้กัมพูชามาพูดคุยกับไทยอย่างไร
เปิดพระวิหาร วันแรกคึก แห่ชม ผามออีแดง
เขาพระวิหาร
เปิดพระวิหาร วันแรกคึก แห่ชม ผามออีแดง
เปิดเขาพระวิหาร วันแรก คึกคัก นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นไปชมผามออีแดง ขณะที่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดสร้าง พระพรหมสี่หน้า เพื่อความเป็นสิริมงคลใกล้แนวชายแดน ไทย -กัมพูชา
ที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งในวันนี้เป็นวันแรกที่เปิดอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมความสวยงามตามธรรมชาติของผามออีแดง ซึ่งถือว่า เป็นประตูสู่ปราสาทพระวิหาร
ปรากฏว่าได้มีบรรดานักท่องเที่ยว ชาว จ.ศรีสะเกษ และชาวไทยจากทั่วประเทศ พากันทยอยขึ้นไปเที่ยวชมผามออีแดงกันอย่างคึกคัก โดยมีกำลังทหารจากกองกำลังสุรนารี มารักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยว ต่างพากันดีใจที่ได้มีโอกาสขึ้นมาชมผามออีแดง อีกครั้ง หลังจากที่ได้ปิดชั่วคราว เนื่องจาก ความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณนี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องเสียค่าบำรุงอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร คนละ 20 บาท เด็กคนละ 10 บาท ก็จะสามารถขึ้นไปชมผามออีแดงได้ และจากบริเวณผามออีแดงนี้ จะสามารถมองเห็นปราสาทพระวิหารด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งการเปิดอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารนี้ เป็นการทดลองเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวชมได้เฉพาะช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะที่ บริเวณผามออีแดง ปรากฏว่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มาทำการจัดตั้ง พระพรหมสี่หน้า ความสูงประมาณ 2 เมตร อยู่ติดกับหน้าผามออีแดง โดยได้ดำเนินการจัดตั้ง เมื่อวันที่ 18 พ.ย.53 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้สักการะของนักท่องเที่ยวและเพื่อความเป็นสิริมงคล อีกทั้งเพื่อต้องการที่จะให้เกิดสันติสุขและสัมพันธไมตรี ระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหารให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมต่อไปอีกด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ลุยพระวิหาร หาข้อมูล ส่งตชด.แทน
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงปัญหาชายแดนกัมพูชา ว่า อย่าให้พูดกันมากไปกว่านี้ ในเมื่ออีกฝ่ายดำเนินการโดยใช้กระบวนการยุติธรรมของศาลโลก ต้องสู้กันที่ศาลโลก ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำอย่างไร และฝ่ายเขาจะทำอย่างไร ซึ่งคงต้องหาช่องทางที่จะพูดคุยกันให้ได้ว่าจากมติดังกล่าว จะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าใครได้เปรียบเสียเปรียบ ใครชนะหรือแพ้ ตราบใดที่มีการขึ้นศาล ต้องมีคนชนะและคนแพ้ แต่มติดังกล่าวเป็นแค่มาตรการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่าย จะมีได้เปรียบเสียเปรียบอยู่บ้าง ต้องมาพูดคุยกันว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะขณะนี้ยังไม่มีการถอนกำลัง ตนยังไม่ได้สั่งการอะไรไป เพราะกระทรวงกลาโหม และกองทัพไทย ยังไม่ได้สั่งการอะไรลงมาว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไร เพียงแต่ให้กระทรวงกลาโหม กับกระทรวงการต่างประเทศ หารือกันว่าจะทำอย่างไร และมีการพูดคุยกับฝั่งกัมพูชา ซึ่งจะพูดหรือไม่พูดแล้วแต่
‘มาร์ค’ ระบุ ไทยพร้อมใช้ตชด.ตรึงชายแดนถ้าเขมรทำจริง
'อภิสิทธิ์' ยัน ไทยพร้อมทำเหมือนกัน หากเขมรจะให้ตชด.มาคุมชายแดนแทนทหาร หลังมติศาลโลก เผย ได้คุยกับรมว.กลาโหมและผบ.ทบ.แล้ว…
เมื่อเวลา 11.00 น. 20 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กัมพูชาจะใช้กำลังตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)เข้ามาตรึงชายแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่เขาพระวิหาร แทนกำลังทหาร ภายหลังศาลโลกมีคำสั่งให้เป็นเขตปลอดทหารว่า การจะดำเนินการอย่างไร เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งศาลโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องทำความชัดเจนกัน ในส่วนของไทย เจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่สามารถเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ก็ต้องทำเช่นเดียวกัน ดังนั้นคิดว่ามันคงอยู่ที่เงื่อนไขของการพูดคุยกันด้วย แต่ตนไม่แน่ใจว่านิยามตามคำสั่งของศาลโลก จะตีความครอบคลุมถึงตชด.ด้วยหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ากัมพูชาเลี่ยงบาลีคำสั่งศาลเช่นนี้ จะเป็นผลดีต่อสถานการณ์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การปฏิบัติอะไรก็ตาม ตนยังยืนยันว่าน่าจะต้องผ่านกระบวนการการพูดคุยกันก่อน
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวออกมาจากฝ่ายกองทัพที่เหมือนกับไม่สบายใจในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี เมื่อเช้าตนคุยกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้นั่งคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. การบอกว่าจะต้องถอนทหาร มันก็มีความรู้สึก แต่เราต้องดูภาพรวม และต้องไปพูดคุยกับทางกัมพูชา
โฆษกทบ.ยัน ตรึงกำลังทหารปราสาทพระวิหาร รอรัฐบาลใหม่สานต่อ
โฆษกกองทัพบก ยัน ไม่ถอนทหารออกนอกพื้นที่ หลังศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อรอการเจรจา หลังไทยมีรัฐบาลใหม่ เชื่อไม่น่าจะทำได้ในช่วงนี้ เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะ…
20 ก.ค. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงความเตรียมพร้อมของทหารไทยบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา หลังจากศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว บริเวณปราสาทพระวิหาร ว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ ไปหารือกัน แต่ช่วงนี้เป็นช่วงรัฐบาลรักษาการ ต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามา แต่ขณะนี้ทหารยังคงสภาพกำลังในพื้นที่ เนื่องจากการปรับหรือถอนกำลัง จะต้องไม่ให้มีความรู้สึกได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน จึงต้องพูดคุยกับทางกัมพูชา โดยผ่านการประชุมจีบีซี เพื่อให้เกิดสิ่งต่างๆ และคนไทยจะได้สบายใจว่า เราดูแลอธิปไตย ซึ่งต้องคุยกับกัมพูชาว่าจะต้องถอนเมื่อไหร่ คิดว่าไม่น่าจะเสร็จในเร็ววัน เพราะมีรายละเอียดต้องพุดคุยกันมาก รวมถึงผู้สังเกตการณ์ที่จะเข้ามาในพื้นที่ด้วย
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔
รมว.กลาโหมยันรอรัฐบาลใหม่เปิดสภา ถกปมไทย-เขมร
รมว.กลาโหม ยันต้องรอรัฐบาลเปิดประชุมสภาพิจารณาเดินหน้าแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา ย้ำทหารไทยยังไม่ถอนกำลังตามแนวชายแดน …
วันที่ 20 ก.ค. พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ได้มีคำตัดสินให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นชาติสมาชิกที่ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติมาโดยตลอด แต่ทั้งนี้การดำเนินการใดๆ ก็จะต้องไม่ขัดแย้งและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งทางรัฐบาลก็พร้อมที่จะดำเนินการตามคำตัดสินดังกล่าว หากแต่เรื่องการถอนทหารออกจากพื้นที่มีรายละเอียดและผลกระทบกับหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาจะต้องมีการพูดคุยกันเสียก่อน เพราะเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้มีแผนที่จะร่วมหารือกับกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในทางคดี เพื่อหาแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งกองทัพจะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติให้ถูกต้อง รวมทั้งจะต้องศึกษาความเกี่ยวข้องในแง่ของกฎหมายด้วย เพราะหากเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยก็จำเป็นต้องนำกรณีดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งขณะนี้ไทยยังอยู่ระหว่างการรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะฉะนั้นคงจะต้องรอให้มีการเปิดประชุมรัฐสภาเสียก่อนจึงจะมีความชัดเจน แต่ยืนยันว่าขณะนี้กำลังทหารของไทยซึ่งปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อย ยังคงอยู่ในที่ตั้งเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
การบ้านของ”ยิ่งลักษณ์”นอกจาก ถอนทหารไทย-เขมร
เมื่อเรื่องใหญ่สองเรื่องในประเทศจบลงไปเป็นที่เรียบร้อย (ถึงบางเรื่องอาจจะจบแบบชั่วคราว) จากนี้ไปสังคมก็คงจะหันกลับมาให้ความสนใจ การจัดโผ ครม. ปู1 ซึ่ง ระหว่างที่คนไทยต้องลุ้นกับแบบใจหายใจคว่ำ กับเรื่องอธิปไตยของประเทศ การหารือ ต่อรอง ทาบทามบุคคลภายนอก รวมไปถึง แก่งแย่งตำแหน่ง ในครม. ชุดใหม่ก็ยังคงดำเนินต่อไป แบบไม่มีวันหยุด ทั้งบนดิน และใต้ดิน
FW: "ประวิตร"เชื่อเขมรรอไทยตั้งรัฐบาลใหม่ก่อนถกถอนกำลัง
"ประวิตร"เชื่อเขมรรอไทยตั้งรัฐบาลใหม่ค่อยถกถอนกำลัง เผยเตรียมถก กต.ดำเนินการ ด้าน มทภ.2 รอคำสั่งรัฐบาลใหม่สั่งถอนกำลัง ยันชายแดนยังสงบ ไร้ตึงเครียด แจงเขมรขนเอ็มบี 21 มาชายแดนนานแล้ว ชี้แค่เตรียมการรบ ขณะที่โฆษก ทภ.2 ยันทหารไทยยังวางกำลังเข้มปกติ ...
วันที่ 18 ก.ค. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ภายหลังที่ศาลโลกมีมติ ให้ไทย-กัมพูชา ถอนทหารออกจากบริเวณพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารทั้งหมดว่า แนวทางการดำเนินการจะต้องหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ กองทัพพร้อมดำเนินการในฐานะผู้ปฏิบัติ ขณะนี้ทหารดูแลพื้นที่ชายแดนตามปกติ ไม่ได้เสริมกำลังเพิ่มเติม และคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ส่วนจะต้องหารือกับรมว.กลาโหมกัมพูชาเพื่อกำหนดแนวทางและระยะเวลาดำเนินการ ตามที่ศาลโลกมีคำวินิจฉัยหรือไม่นั้น ถ้ากัมพูชานัดมาก็พร้อมจะหารือ แต่เข้าใจว่ากัมพูชาคงรอให้การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นก่อน ซึ่งการถอนกำลังทหารออก ทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกัน
FW: เป้าหมาย”ศาลโลก”ลดการเผชิญหน้า??
หลังจาก คณะผู้พิพากษาทั้ง 16 คน ของศาลโลก ได้ปฏิเสธคำร้องของไทย และ ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ด้วยมติ 11 ต่อ 5 ตามที่กัมพูชาร้องขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ให้ทั้ง 2ฝ่าย ตั้งเขตปลอดทหารใน 4 จุด ให้กำลังทหารทั้ง 2 ประเทศ ต้องถอนหรือถอย ออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารทั้งหมด อาจรวมไปถึงพื้นที่ทับซ้อนทิศตะวันตก 4.6 ตร.กม. และมี มติ 15 ต่อ 1 ไทยจะต้องให้ความร่วมมือไม่ขัดขวางการส่งเสบียงหรือกำลังบำรุง (อาหารและน้ำให้กับประชาชนที่ไม่ใช่ทหาร) ของกัมพูชา ไม่ปิดทางเข้าออกตัวปราสาท ไทยจะต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาพื้นที่ของกัมพูชา ทั้งยังต้องสนับสนุนให้กัมพูชาพัฒนาพื้นที่ด้วย รวมทั้งต้องให้คณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียน เข้าไปในพื้นที่ได้โดยไม่มีการขัดขวาง รวมถึงกำหนด ให้ทั้ง2 ประเทศรายงาน การปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกอย่างเป็นทางการด้วย
มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ ว่า มาตรการของศาลโลก ไม่ได้ชี้ว่า พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ที่เป็นปัญหามีการอ้างสิทธิ์เ ป็นเจ้าของพื้นที่ทั้ง 2ฝ่าย ส่วนไหนเป็นของประเทศใด เมื่อศาลโลกมีคำตัดสินออกมาอย่างที่เห็น จะถือว่าเรื่องชายแดนโดยเฉพาะกรณีความขัดแย้ง ปราสาทและรอบๆเขาพระวิหาร ทั้งไทย-กัมพูชา กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ จบลงหรือไม่ อย่างไรยังไม่มีใครสามารถชี้ขาดได้ ต่างฝ่ายต่างก็ต้องตีความคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกอย่างละเอียด
‘ปณิธาน’เชื่อแนวโน้ม เขมรจะกลับมาใช้กลไกทวิภาคี
"ปณิธาน" เชื่อ แนวโน้มกัมพูชา หันกลับมาใช้ กลไกทวิภาคีเจรจาเขตแดนกับไทยอีกครั้ง ชี้กัมพูชาเองก็คาดไม่ถึงศาลโลกสั่งให้ตัวเองต้องถอนทหารด้วย ทั้งที่เป็นฝ่ายร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ประเมินเบื้องต้น ไทยต้องถอนทหาร8.5ตร.กม. ส่วนเขมร 8.7ตร.กม.
เมื่อเวลา 12.40น. วันที่ 19 ก.ค. รศ.ดร. ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยอมรับกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า จากการประเมินเบื้องต้น หลังจากที่ศาลโลกมีคำสั่งให้ทั้ง 2 ฝ่าย ถอนทหารออกจากพื้นที่ ปราสาทพระหารและบริเวณโดยรอบแล้ว ทางกรมแผนที่ทหารของไทย ประเมินว่า ไทยจะต้องถอนทหารออกมาเป็นพื้นที่ 8.5 ตร.กม. ส่วนฝั่งกัมพูชากินพื้นที่ 8.8 ตร.กม. รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 17.3 ตร.กม. อันนี้ต้องออกตัวก่อนว่ายังเป็นการประเมินของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ไม่ทราบว่าทางฝั่งกัมพูชา จะมีความเห็นอย่างไร
ทั้งนี้ รศ.ดร. ปณิธาน ชี้อีกว่า ถ้าใช้แผนที่ของฝั่งกัมพูชาอ้างแต่เดิม ทางกัมพูชาอาจต้องถอนทหารถึงกว่า 13 ตร.กม. ดังนั้น เชื่อว่า สิ่งนี้จะทำให้ทางกัมพูชาต้องพิจารณาใหม่ เนื่องจากเชื่อว่าทางกัมพูชาเอง ก็คิดไม่ถึงเช่นกันว่า ถึงแม้จะเป็นฝ่ายนำเรื่องเข้าไปฟ้องไทย และขอให้ศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว แต่สุดท้ายตัวเองก็ต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า มีแนวโน้มกัมพูชาอาจจะต้องตัดสินใจกลับมาใช้กลไกทวิภาคีการประชุมเจบีซีและจีบีซี ที่มีอยู่เดิมในการเจรจา ทั้งนี้อาจต้องรอให้ไทยมีรัฐบาลใหม่ก่อน
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวอีกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ยังไม่มีการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลโลก และได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ไปกำหนดแนวทางการพูดคุยกับฝ่ายกัมพูชา ในขั้นตอนการปฏิบัติถอนทหารทั้ง 2 ฝ่าย โดยนายกฯ ยังได้สั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคง ไปประชุมหารือและจัดทำข้อเสนอ และข้อมูลข้อเท็จจริงมาทั้งหมด เพื่อใช้ในการตัดสินใจดำเนินการ รวมไปถึงในด้านกฎหมายด้วย ส่วนใดที่ทำได้ก่อนก็จะดำเนินการ ส่วนใดต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ ก็คงต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แล้วค่อยไปเจรจากับทางกัมพูชา เรื่องการถอนทหารอีกครั้ง
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
“เขาพระวิหาร”ความเสี่ยงบนทาง”สองแพร่ง”เมื่อศาลโลกรับตัดสิน
นายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ เหตุที่ชี้ว่า กรณีศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาตามคำร้องขอของกัมพูชา การที่ศาลโลกมีมติ 15 ต่อ 1 ห้ามไทยขัดขวางการส่งกำลังบำรุง อาหารและน้ำดื่ม รวมถึง ต้องสนับสนุนกัมพูชาในการพัฒนาพื้นที่ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะเดินไปถึงจุดจบ กรณีปัญหาความขัดแย้งปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กินเวลายาวนานเกือบ50 ปี
เนื่องจากในความคิดเห็นส่วนตัว เห็นชัดว่า แนวโน้มของคณะผู้พิพากษาศาลโลกน่าจะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร เพราะศาลโลกไม่เอาและไม่เห็นด้วยกับ ความคิดเห็นไทย ที่ให้ยกคำร้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบ แล้วการที่ศาลโลก มีมติห้ามเฉพาะฝ่ายไทย ที่เป็นกำลังทหารอยู่ใน พื้นที่ทับซ้อนต้องถอนทหารออกมา แม้กัมพูชาเองก็ต้องถอนทหารเช่นกัน คือกำหนดเขตปลอดทหารทั้ง 2 ฝ่าย ที่กินพื้นที่ถึงประมาณถึง 17.3 ตร. กม.นั้น ต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายกัมพูชายังมีชุมชน พระสงฆ์ และวัดของกัมพูชาตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร. กม. อยู่โดยที่ไม่สามารถมีใครเข้าไปผลักดันได้ เมื่อคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียลงพื้นที่สังเกตการณ์ จะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร แน่นอนคิดอย่างอื่นคงไม่ได้ ก็ต้องคิดว่าเป็นพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะที่กรณี หากไทยเห็นแนวโน้มแล้ว ยังสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกหรือไม่ รวมถึง ข้อเรียกร้องจากนักวิชาการบางกลุ่ม ที่ออกมาเรียกร้องให้ไทยประกาศไม่รับคำตัดสินของศาลโลก นายดอน กล่าวอีกว่า จริงอยู่ ที่ผ่านมา ศาลโลกเคยตัดสิน คดีที่มีลักษณะเดียวกันกับ ไทย-กัมพูชา มาแล้วจำนวน ถึง16-17 คดี แล้วมีประมาณถึง 10 คดี ที่ประเทศคู่ขัดแย้ง ประกาศไม่รับคำตัดสินของศาลโลก แต่หากไทยประกาศไม่รับคำตัดสินของศาลโลกบ้าง น่าจะมีผลกระทบในระยะยาว
"ซึ่งคนไทยก็ต้องถามใจตัวเองด้วยว่า ประเทศเคยถือเป็นเด็กดีมาตลอดในสายตาของนานาชาติ แล้วถ้าเด็กดีอย่างไทยจะเกิดเฮี้ยวขึ้นมาซักหนจะเป็นอะไรหรือไม่ อย่างไร ภาพความน่าเชื่อถือของประเทศที่เคยสะสมมาอย่างดี และยาวนาน ในสายตานานาชาติก็ต้องเปลี่ยนไป ส่วนอีก แนวทางหนึ่ง จะทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ ยอมรับคำตัดสินแล้วต้องเปิดการเจรจากับกัมพูชา โดยใช้โอกาสนี้แก้ปัญหาระหว่าง 2ประเทศในกรณีอื่นๆไปด้วยพร้อมกันในตัว"นายดอน กล่าว
ทั้งนี้นายดอนระบุว่า ถึงแม้แนวโน้มที่เห็น จะเป็นเช่นนั้นไม่สามารถตีความอย่างอื่นได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ต้องมีทาง ส่วนตัวเชื่อว่า สมองของมนุษย์หรือคนนี่ละ คือสิ่งมหัศจรรย์ ที่เป็นสุดยอดที่สุดในโลก ดังนั้นเชื่อว่าจะมีแนวทางแก้ไขได้ เพียงแต่ทุกคนต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำอย่างเต็มที่เท่านั้น
รศ.ดร. ปณิธาน ยังชี้อีกว่า ถ้าใช้แผนที่ของของเดิมที่กัมพูชาใช้อ้างอิงมาตลอด หนักกว่าเก่าเพราะ กัมพูชาอาจต้องถอนทหารถึง กว่า 13 ตร.กม. ดังนั้น เชื่อว่า สิ่งนี้ จะ ทำใ ห้ทางกัมพูชาต้องพิจารณาใหม่ เนื่องจากเชื่อว่า ทางกัมพูชาเองก็คาดคิดไม่ถึงเช่นกัน ทั้งที่เป็นฝ่ายนำเรื่องเข้าไปฟ้องไทยและขอให้ศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว แต่สุดท้ายตัวเองก็ต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ด้วยเช่นกัน
ทำให้ส่วนตัวเชื่อว่ามีแนวโน้มสูง กัมพูชาอาจจะต้องตัดสินใจหันกลับมาใช้กลไกทวิภาคีการประชุมเจบีซี และ จีบีซี ที่มีอยู่เดิมในการเจรจา ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีความ พยายามจะหลีกเลี่ยง รวมทั้งหยิบยกปัญหาขึ้นสู่เวทีระดับโลกมาโดยตลอด แต่คงอาจต้องรอให้ไทยมีรัฐบาลใหม่ก่อน
เนื่องจากถึงขณะนี้เอง กัมพูชาก็เริ่มมีความไม่มั่นใจแล้วเช่นกัน แล้วที่ศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เป้าหลักคือต้องการลดความสุ่มเสี่ยงการเผชิญหน้าของกำลังทหารเพื่อป้องกันเกิดการสูญเสียทั้ง 2ฝ่าย ซึ่งศาลชี้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณี การขอให้ศาลโลกชี้ขอบเขตของคำตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาเมื่อปี2505 หรือเรื่องขอบเขต หรือเขตแดนแต่อย่างใด
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวอีกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ยังไม่มีการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทใ ห้เป็นไปตามคำสั่งของศาลโลก โดยนายกฯได้สั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคง ไปประชุมหารือและจัดทำข้อเสนอ และข้อมูลข้อเท็จจริงมาทั้งหมดเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินการ รวมไปถึงในด้านกฎหมายด้วย ส่วนใดที่ทำได้ก่อนก็จะดำเนินการ ส่วนใดต้องรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ ก็คงต้องรอให้เข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แล้วจึงค่อยไปเจรจากับทางกัมพูชา เรื่องการถอนทหารอีกครั้ง
ทั้งหมดคือความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งยังไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าสุดท้ายผลลัพธ์จะออกมา อย่างไร ตอนนี้ทำได้เพียงต้องช่วยกันแก้ไข คิดหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย และภาวนาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาและคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัยเท่านั้น.
กระตุกต่อม"ระทึกขวัญ" ลุ้น! คำตัดสินศาลโลกวันนี้
ในคดีที่กัมพูชา ยื่นให้ศาลโลกตีความขอบเขตของคำพิพากษาปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 หากผลปรากฎออกมาว่า คำพิพากษาเป็นไปตามที่สำนักข่าวบางสำนักในต่างประเทศรายงานข่าวออกมาจริง ก็ไม่อยากคิดว่า สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เรื่อยไปถึง จ.สุรินทร์ จะเกิดตึงเครียดขึ้นหรือไม่ รวมถึงไทยเองจะมีนโยบายดำเนินการอย่างไรต่อไปกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา
ทั้งนี้จะกลายเป็นงานเข้า สำหรับรัฐบาลรักษาการของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ทิ้งท้ายทันที ก่อนจะอำลาตำแหน่งอย่างเป็นทางการ และมีการส่งมอบให้กับ รัฐบาลปู1 นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง คนแรกของไทย เพราะประชาชนไทยคงไม่ยอมรับกับคำตัดสินของศาลโลกแน่ ถึงแม้ต้องปฏิบัติก็ตาม หากปรากฎผลออกมาเป็นอย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศอ้าง เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียดินแดน 4.6 ตร.กม.ของประเทศไปตลอดกาล
ขณะรัฐบาลที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่ง ของ นส.ยิ่งลักษณ์ ขณะนี้รอ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองการเป็นส.ส. อยู่ก็"งานเข้า"เช่นกัน เพราะเมื่อเข้าทำงานปุ๊ป! ก็ต้องพิสูจน์ฝีมือ ตามแก้ปัญหาใหญ่ระดับประเทศทันที
แม้มีการมองกันว่า รัฐบาลชุดใหม่เพื่อไทย มีสายสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การเจรจาน่าจะง่ายกว่ารัฐบาลชุดเก่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องทำตามคำต้องการของกัมพูชา เพราะที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ โดยเฉพาะนส.ยิ่งลักษณ์น้องสาวของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเอง ยิ่งจะต้องระมัดระวัง เพราะกรณีข้อพิพาท ความขัดแย้งระหว่าง ไทย-กัมพูชา เกี่ยวพันกับข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทย ของพี่ชายสมัยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยตรง
เพราะเมื่อประมาณอาทิตย์ที่แล้ว เว็บไซต์หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ รายงาน เอกสารลับทางการทูตใน เว็บไซต์จอมแฉ "วิกิลีกส์" นำมาเผยแพร่ กล่าวถึงรายละเอียดการไปเยือนกรุงพนมเปญของสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน และร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงกัมพูชาว่า ผู้แทนยักษ์ใหญ่บ.เอกชน ด้านพลังงาน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา หาทางคลี่คลายข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย เพราะบริษัทฯ ถือสัญญาสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลาเกือบสิบปี
ระหว่างการประชุมครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ได้แจ้งต่อบริษัทฯว่า รัฐบาลไทยกับกัมพูชาเกือบได้ข้อยุติในเรื่องนี้ ไม่นานนักก่อนรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกยึดอำนาจเมื่อปี 2549 โดยทั้งสองเห็นพ้องกัน ในหลักการแบ่งรายได้ในพื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด สัดส่วนไทย 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50-50 และสัดส่วนไทย 20% กัมพูชา 80% สำหรับพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา
เอกสารที่รั่วอีกฉบับ ซึ่งให้รายละเอียดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชากับผู้บริหารระดับสูงของ บ.น้ำมันยักษ์ใหญ่เช่นกัน เอกสารระบุว่า บริษัทที่ขุดเจาะและสำรวจบ่อน้ำมันส่วนที่เรียกว่า "บล็อค เอ" นอกชายฝั่งของกัมพูชา มีความสนใจอย่างมากในการได้รับสิทธิในการสำรวจบ่อน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อน โดยผู้บริหาร บ.น้ำมันดังกล่าว ระบุว่า พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยนั้น เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการสำรวจ และอาจเปลี่ยนแปลงกัมพูชาแบบพลิกโฉม ส่วน"บล็อค เอ"นั้น ไม่มีความสำคัญพอที่จะสำรวจและทำกำไรได้โดยลำพัง
หลัง พ.ต.ท.ทักษิณถูกโค่นอำนาจ กรณีพิพาทน่านน้ำทับซ้อนแทบไม่มีความคืบหน้า ประกอบกับการตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกัมพูชาเมื่อปี 2552 ยิ่งสร้างปัญหามากขึ้น เมื่อคณะรัฐมนตรีไทยได้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับหนึ่งที่ลงนามในปี 2544 โดยอ้างว่าบทบาทใหม่ของอดีตนายกฯทักษิณ ทำให้สถานะการเจรจาของไทยเสียเปรียบ
เอกสารสถานทูตอีกฉบับ ยังกล่าวอย่างชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับกัมพูชาระบุว่า "การไปเยือนพนมเปญของทักษิณฯ ถูกนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่ มองว่า เป็นความต่อเนื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณและสมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการใช้กันและกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว"
เมื่อมีข่าวลักษณะนี้ออกมา นส.ยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่ง ยิ่งต้องดำเนินการให้เห็นว่า กระทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของชาติ และไม่ได้อยู่ใต้เงาหรือคำบงการของ"นายห้างตราดูไบห่่อ" แต่ถ้าศาลโลกตัดสินออกมาแนวทางเป็นคุณกับไทยเรื่องก็จบ"ยิ่งลักษณ์"ก็ลำบากใจน้อยลง เพราะมีข่าวอีกกระแสระบุว่า ศาลโลกจะตัดสินคุ้มครองชั่วคราว เฉพาะตัวปราสาท แต่จะไม่เข้าไปยุ่งในส่วนพื้นที่ทับซ้อนเจ้าปัญหา 4.6 ตร.กม.แต่อย่างใด
ผลประโยชน์มหาศาลทางทะเล เกี่ยวพันถึงเส้นเขตแดนของประเทศ นำมาซึ่งการอ้างเป็นเจ้าของพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.ระหว่างไทย-กัมพูชา และการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว เกิดปะทะกันตามแนวชายแดนนำมาซึ่งสูญเสียทั้ง 2ฝ่าย และทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงสูญเสียอธิปไตย ผลกำลังจะปรากฎออกมาในช่วงบ่ายของวันนี้ นับถอยหลัง...แล้วรอลุ้นระทึก!กันได้เลย...
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
"ภาพเศียรพระในรากต้นโพธิ์" มรดกโลกอยุธยาโชว์หราหน้ายูเนสโก
มาชู ปิกชู 100 ปีมรดกโลก 4 ปี 1 ใน 7 มหัศจรรย์โลก
ชาวเปรูและนักท่องเที่ยวที่ได้รับอนุญาตเพียง ๗๐๐ คน ร่วมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีมาชู ปิกชู โบราณสถาน ของชนเผ่าอินคายุคศตวรรษที่ ๑๕ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อคืน ๗ ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น ด้วยบรรยากาศแสงสีเสียงอย่างสนุกสนานกับสถานที่ ที่องค์การยูเนสโกยกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี ๒๕๒๖ และยังตรงกับครบรอบ ๔ ปี ของมาชู ปิกชู ที่ทั่วโลกโหวตให้เป็น ๑ ใน ๗ สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ทั้งนี้ สถานที่เก่าแก่ แห่งนี้ถูกค้นพบโดยนายฮิแรม บิงแฮม นักสำรวจชาว อเมริกัน เมื่อ ๒๕ ก.ค. ปี ๒๔๕๔ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
ลุ้น3แนวทาง ศาลโลกวันนี้ ชี้คดีพระวิหาร
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
อธิบดีกรมศิลป์เผยลาออกกก.มรดกโลกยังไม่มีผล
"โสมสุดา" เปิดใจครั้งแรก แจงการที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกยังไม่มีผล ต้องรอเวลาอีก ๑ ปี ดังนั้นตัวกรรมการยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่ต้องรอแนวทางรัฐบาลใหม่... เมื่อวันที่ ๗ ก.ค. นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยได้ลาออกภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติหรืออนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๕ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสนั้น การที่ประเทศไทยได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ตัวกรรมการมรดกโลก ก็ต้องออกมาจากการเป็นคณะกรรมการมรดกโลก ๒๑ ประเทศ พร้อมกับประเทศของตนเองด้วย อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า ในทางทฤษฎีตามมาตรา ๓๕ ในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ถือว่ายังไม่มีผลอะไร เนื่องจากทางรัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต้องเป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งการลาออกไปยังผู้อำนวยการใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก อย่างทางการอีกครั้งหนึ่ง ยืนยันว่าจะลาออกจริง และเมื่อยูเนสโกรับหนังสือแล้ว วันที่ประทับตราหนังสือนับไปอีก ๑ ปี จึงจะมีผลว่า ประเทศนั้นลาออก เพราะฉะนั้นพูดจริงๆในทางปฏิบัติจากบัดนี้ไปจนถึง ๑๒ เดือน ตัวกรรมการก็ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ "รัฐบาลที่แล้วได้ประกาศลาออกจาก การเป็นอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เราในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็คงต้องทำตามนโยบายของรัฐบาลก่อน ทั้งนี้ หากรัฐบาลใหม่เข้ามาต้องรอดูนโยบายของนายกรัฐมนตรีด้วยว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยจะให้ทำหนังสือยืนยันแจ้งการลาออกจากอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือทำหนังสือแจ้งไปว่า จะไม่ลาออกแล้ว ยืนยันว่าจะอยู่ในอนุสัญญาเช่นเดิม ทุกอย่างก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่" นางโสมสุดา กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนการลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญาฯมรดกโลก ในมาตราที่ ๓๕ ระบุไว้ว่า ๑.รัฐภาคแห่งอนุสัญญามีสิทธิในการบอกเลิกการเป็นสมาชิกในอนุสัญญา ๒.การบอกเลิกต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ๓.การบอกเลิกจะมีผลเมื่อครบระยะเวลา ๑๒ เดือน นับจากวันที่หนังสือแจ้งตอบรับการบอกเลิกของรัฐภาคี ทั้งนี้ จะไม่มีผลต่อพันธะผูกพันทางการเงินของรัฐภาคีที่บอกเลิกจนกว่าจะถึงวันที่หนังสือบอกเลิกมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนต้องการที่จะศึกษาข้อมูลมรดกโลกฉบับภาษาไทย ทั้งแหล่งมรดกโลก อนุสัญญาต่างๆ การลงนามความร่วมมือ(MOU) สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลมรดกโลกของกระทรวงวัฒนธรรม www.thaiwhic.go.th ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านมรดกโลก | |
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
รองผู้ว่าฯลำพูน รุก 3 กิจกรรมขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมสู่มรดกโลก
นายประจักษ์จิตต์ อภิวาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า เพื่อให้จังหวัดลำพูนเกิดแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านการแต่งกาย ภาษาท้องถิ่น มรดกได้รับการอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่ทางสื่ออย่างหลากหลายเป็นระบบ ด้วยการขับเคลื่อนโครงการศิลปวัฒนธรรมลำพูนสู่มรดกโลก หรือ นครหริภุญชัย เมืองโบราณอายุร่วม ๑,๓๕๔ ปี ให้มีความเจริญด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพิ่มมูลค่าและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ จะมีการจัดภายใต้ ๓ กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนาโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จำนวน ๕๐ แห่ง ขับเคลื่อนกิจกรรมหลัก ๖ ด้าน ได้แก่ คลังสมอง ถ่ายทอดวิชาชีพ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ลานวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ชุมชน สารสนเทศและห้องสมุด คาดหวังโดยนำมรดกที่มีความโดดเด่นมาเพิ่มมูลค่าโดยสร้างเป็นเรื่องราวดำเนินการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการแต่งเมือง อู้เมือง ฮู้เรื่องบ่าเก่า กิจกรรมการพัฒนาข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักและเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดและภาค เพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านการแต่งกาย ภาษาท้องถิ่น มรดกได้รับการอนุรักษ์สืบสาน พัฒนาสู่อาชีพ เผยแพร่ทางสื่ออย่างหลากหลายอย่างเป็นระบบ |
ที่มา : เนชั่นทันข่าว วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
กต.แจงไทยถอนตัวภาคีฯมรดกโลกยังไม่มีผลทาง กม.
กระทรวงต่างประเทศแจงยาว การถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก น่าจะยังไม่มีผลในทางกฎหมาย ต้องรอรัฐบาลจะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ... วันที่ ๖ ก.ค. ที่ห้องประชุมศรีณรงค์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ นายพิษณุ จันทร์วิทัน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบกรมสารนิเทศ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนประชาชน หมู่บ้านใกล้แนวชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท บริเวณปราสาทพระวิหาร ด้านจังหวัดศรีสะเกษ และปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ตามรายละเอียดข้อเท็จจริง และตอบข้อซักถาม เพื่อให้มีความคิด ความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน ในการรักษาอธิปไตยของไทย และนำไปชี้แจงประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน ลดปัญหาความขัดแย้ง และปัญหาอื่นๆที่อาจจะนำไปสู่การปะทะของทหารของทั้งสองประเทศ |