"สุกุมล" ตรวจโบราณสถานอยุธยา หลังฝนลดเผยกระทบ 38 วัด 29 มัสยิด โดยอยู่ในภาวะวิกฤต 3 แห่ง ชี้ยังไม่น่าเป็นห่วง กำแพงคอนกรีตป้องกันน้ำท่วมวัดไชยวัฒนาราม มีประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาน้ำใต้ดิน ซึมเข้าโบราณสถาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำ หากน้ำซึมจะระบายน้ำออกทันที
วันนี้ (26 ส.ค.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เดินทางตรวจเยี่ยมโบราณสถานใน จ. พระนครศรีอยุธยาที่มีความเสี่ยงต่อสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบด้วย วัดไชยวัฒนาราม หมู่บ้านโปรตุเกส วัดธรรมาราม
โดย นายสุกุมล กล่าวหลังจากได้รับรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจ.พระนครศรีอยุธยาว่า หลังจากน้ำในแม่น้ำเจ้ายามีฝนตกน้อยลง ทั้งนี้กรมชลประทานจะปล่อยน้ำออกสู่ทะเลในช่วงวันที่ 23-27 สิงหาคมนี้ เพื่อป้องให้ระดับน้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งปริมาณน้ำที่ไหลผ่านในเขตพื้นที่โบราณสถานยังไม่พบว่าประสบปัญหา ยังสามารถลองรับระดับน้ำได้ อย่างไรก็ตามได้รับรายงานว่าวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่อยุธยาได้รับผลกระทบ 38 วัด และมัสยิด ได้รับผลกระทบ 29 แห่ง โดยอยู่ในภาวะวิกฤต 3 แห่ง ทั้งนี้ภาพรวมของระดับน้ำในเขตพื้นที่โบราณสถานถือว่ายังไม่น่าเป็นห่วง เพราะระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่งอีกหลายเซนติเมตร อาทิ บริเวณวัดชัยวัฒนาราม และวัดธรรมาราม อยู่ต่ำกว่าตลิ่ง 30 เซนติเมตร ส่วนบริเวณหมู่บ้านโปรตุเกสต่ำกว่าตลิ่ง 80 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณป้อมเพชรต่ำกว่าตลิ่ง 1 เมตร
นางสุกุมล กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมแหล่งโบราณสถาน พบว่า สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีปริมาณไม่สูงมาก มีระบบป้องกันที่ยอดเยี่ยมสามารถป้องกันน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมมากเกินไป ดังนั้นการสร้างกำแพงคอนกรีตป้องกันน้ำท่วมบริเวณวัดไชยวัฒนาราม มีประสิทธิภาพอย่างมาก ส่วนกรณีปัญหาน้ำใต้ดิน ซึมเข้าสู่โบราณสถาน อาทิ ที่หมู่บ้านโปรตุเกส รวมถึงวัดไชยวัฒนารามนั้น ทางจังหวัดก็ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้แล้ว ซึ่งหากมีน้ำซึมเข้ามาก็จะมีการระบายน้ำออกทันที ส่วนปัญหาน้ำท่วมแหล่งโบราณสถานทั่วประเทศ ขณะนี้ ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้กรมศิลปากร ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง หากจังหวัดใดมีปัญหาน้ำท่วมมาก จะเข้าไปตรวจสอบต่อไป ในส่วนโบราณสถานในจ.สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชรนั้น จะหารือทางกรมศิลปากร ว่า จะมีวิธีใดบ้างที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอาจจะนำตัวอย่างจากระบบป้องกันใน จ.อยุธยา เป็นต้นแบบ และจะเร่งของบประมาณจากทางรัฐบาลต่อไป
นางสุกุมล กล่าวว่า ในขณะนี้มีปริมาณน้ำที่กรมชลประทานปล่อยออกจากเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ประมาณ 1800 ถึง 1900 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน แต่หากปล่อยมามากกว่า 2000 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้เกิดกระแสน้ำอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตลิ่งในแนวคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกรมศิลปากรได้ก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อเป็นระบบป้องกันน้ำท่วม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโบราณสถาน บริเวณเขื่อนหน้าวัดชัยวัฒนาราม โดยมีการติดตั้งระบบกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นน้ำท่วมชั่วคราวและเครื่องสูบน้ำไว้สำหรับสูบน้ำท่วมขังโบราณสถานกรณีมีฝนตกชุก รวมถึงคานกั้นน้ำบริเวณหมู่บ้านโปรตุเกส เตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่มีระดับน้ำสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้สถานการณ์น้ำยังไม่น่าเป็นห่วง
นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผอ.สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า โบราณสถานในพื้นที่เกาะเมืองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามี 95 แห่ง ที่มีศักยภาพในการป้องกันน้ำท่วม ส่วนบริเวณนอกเกาะเมืองนั้น อาจจะต้องปล่อยให้มีน้ำท่วมขัง เนื่องจากยังไม่มีระบบป้องกันที่ดี แต่จะต้องมีการเร่งใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออก อย่างไรก็ตาม ปัญหาในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่จะอยู่ทางทิศเหนือเขตพระราชวังโบราณ เมื่อฝนตกจะมีน้ำท่วมขังมาก ในส่วนของวัดไชยวัฒนาราม ที่ป้อมเพชร และหมู่บ้านโปรตุเกสนั้นได้ติดตั้งแผงคอนกรีตกั้นตลอดแนว สามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าท่วมได้ และใช้เหล็กทำเป็นสันเพื่อต้านกระแสน้ำเข้ามาปะทะ
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วธ.เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมโบราณสถาน “อยุธยา” ยังไม่น่าเป็นห่วง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น