วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สื่อนอกตีข่าวน้ำท่วมหนักในไทยกระเทือนท่องเที่ยว-โบราณสถานอยุธยาจมน้ำ

ได้นำเสนอรายงานสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยกับผลกระทบด้านการท่องเที่ยวโดยเว็บไซด์ดังกล่าวรายงานว่าสถานการณ์มวลน้ำระลอกใหญ่ที่ส่งผลต่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอย่างวัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสูง

นอกจากนี้เว็บไซด์ดังกล่าวอ้างรายงานจากหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครว่าสถานการณ์น้ำท่วมในกทม.มีแนวโน้มหนักขึ้นใน2สัปดาห์ข้างหน้าโดยคาดการณ์สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน

อย่างไรก็ตามเว็บไซด์ซีเอ็นเอ็นโกระบุว่าย่านที่มีนักท่องเที่ยวมากในกรุงเทพฯอาทิ ถนนสุขุมวิท ข้าวสาร และสีลม ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แม้ว่าจะมีท่าน้ำ ร้านอาหาร และบ้านพักที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว

ซีเอ็นเอ็นโกระบุว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแจ้งถึงจุดท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง สุโขทัย กาญจนบุรี พัทยา เกาะช้าง ระยอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และเกาะสมุย ทั้งหมดยังคงมีสภาพอากาศปกติ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและยังเปิดดำเนินการปกติ ยกเว้นเพียงแต่โบราณสถานใน จ.พระนครศรีอยุธยาที่ถูกน้ำท่วมรุนแรง สถานที่ท่องเที่ยวถูกปิดชั่วคราว รวมทั้งรถไฟที่ให้บริการจากกรุงเทพฯไปสายเหนือที่ผ่านอยุธยาต้องหยุดชะงักลง โดยการรถไฟยินดีจ่ายเงินค่าตั๋วคืนแก่ผู้โดยสารที่ต้องการยกเลิกการเดินทาง ทั้งนี้การเดินทางระยะยาวด้วยรถประจำทางหรือรถบัสยังคงดำเนินการได้ แต่ถนนสายหลักถูกตัดขาดจากน้ำท่วมในพื้นที่ต้องเปลี่ยนเส้นทาง

ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นโกได้ถ่ายทอดภาพน้ำท่วมในหลายจุดของกรุงเทพฯโดยบางจุดรายงานว่าประสบปัญหาน้ำท่วมขังมานานร่วมเดือน


ที่มา www.prachachat.net/news_detail.php















ที่มา



ต้องการยกเลิกรับข่าวสาร คลิกที่นี่

วัดไชยวัฒนาราม...

ชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เราลืมคำว่า ศาลาท่าน้ำ ตลาดน้ำ เรือนแพ และบ้านทรงใต้ถุนสูง และลืมแม้กระทั่งคำว่า ก๋วยเตี๋ยวเรือ ทั้งที่กินกันอยู่ทุกวัน

น้ำท่วมไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับประเทศนี้ ที่ชุมชนบ้านเรือนเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ใกล้น้ำ คำว่า บางก็บอกอยู่แล้วว่า คือสถานที่ที่อยู่ริมแม่น้ำ หรืออยู่บนเส้นทางของลำน้ำลำคลองสายต่างๆ เช่นว่า บางไทร บางบาล บางปะหัน บางโฉมศรี ฯลฯ น้ำท่วมมาแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว

ประวัติของอยุธยากล่าวกันว่า ถูกออกแบบมาให้เป็นเมืองน้ำ เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม เป็นศูนย์กลางของเมือง อยู่ในส่วนที่เป็นเกาะล้อมรอบด้วยแม่น้ำสามสาย คือ เจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี จึงมีการขุดคูคลองให้เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอดมาทุกยุค

ด้วยหน้าน้ำ น้ำมากน้ำหลาก คูคลองจำนวนมากเหล่านี้ก็จะได้เป็นที่ระบายน้ำออกไปจากเมืองได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญก็คือ เอาไว้เป็นกำแพงแนวป้องกันน้ำมิให้พุ่งตรงเข้าไปทำลายเมืองและบ้านเรือน

ที่อยุธยา (เมือง และจังหวัดอื่นๆ) ต้องจมอยู่ใต้น้ำและต้องเสียหายหนักก็เพราะคนนั่นแหละที่เปลี่ยนแปลงบ้านเรือนและชุมชนของตน ธรรมชาติไม่ได้เปลี่ยน น้ำถึงเวลาก็มา การฝ่าฝืนและต่อสู้กับธรรมชาติจึงต้องทุกข์ยากลำบากอย่างที่เห็นกันอยู่
โบราณสถานวัดไชยวัฒนารามของอยุธยาที่ถูกน้ำท่วมคราวนี้ มีประวัติความเป็นมาว่า สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 สมัยพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยา วัดนี้แปลกแตกต่างไปจากวัดอื่นๆ ก็เพราะพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ช่างไทยออกไปจำลองแบบแผนผังนครวัดของเขมรมาสร้างขึ้นในกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะ

ในแง่สถาปัตยกรรมวัดไชยวัฒนารามนับเป็นวัดที่งดงามและสวยสง่ายิ่ง

วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดที่ประกอบด้วยทั้งพระปรางค์ ปราสาทใหญ่น้อย เมรุทิศ เมรุราย มณฑป ลาน พระระเบียงแบบศิลปะเขมร และมีพระพุทธรูปพระอุโบสถและพระเจดีย์ที่เป็นศิลปะแบบของไทย

ปราสาทใหญ่หรือเมรุทิศมีด้วยกันถึง 7 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปใหญ่ ทั้งในปางยืน ปางลีลา และปางมารวิชัยที่งดงามสูงสง่าและมีมุมซุ้มประตูคูหาห้องช่องทางเดินอยู่ภายในกำแพงแก้วอันกว้างขวางและยิ่งใหญ่โอบล้อมไว้โดยรอบ

ประวัติศาสตร์กล่าวว่า วัดไชยวัฒนารามนั้น รจนาขึ้นตามคติของการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนาอันไม่เคยปรากฏมาก่อนในกรุงศรีอยุธยา

ยิ่งในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้ก็มีเรื่องราวอยู่มาก

เรื่องหนึ่งที่น่าจดจำก็คือในครั้งที่พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย ที่วัดแห่งนี้คือสนามรบอันดุเดือด

ไทยใช้วัดไชยวัฒนารามเป็นค่ายรบแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไทยและพม่าต่างสู้รบกันชนิดข้ามวันข้ามคืนอยู่บนพื้นดินที่เจิ่งไปด้วยน้ำ เพราะวัดตั้งอยู่ริมน้ำ เมื่อไทยเสียค่ายที่วัดนี้ก็เสียกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา
วัดไชยวัฒนารามกลายเป็นวัดร้างอยู่กว่า 200 ปีจนกระทั่งได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อไม่นานมานี้

อนึ่ง วัดนี้ที่ได้ชื่อว่า วัดไชยวัฒนาราม ก็เพราะในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองนี้ ทำสงครามมีชัยตีได้เมืองเขมรที่แข็งข้อออกไปเป็นอิสระ เอากลับคืนมาได้ การสร้างวัดไชยวัฒนารามนี้ขึ้นจึงเป็นการเสริมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา www.komchadluek.net/detail/20111013/111639/"วัดไชยวัฒนาราม"....html

"อยุธยา" เมืองใหม่ บนที่ราบลุ่มต่ำรับน้ำท่วม

เมื่อนั่งรถออกจากกรุงเทพฯไปตามถนนพหลโยธิน ครั้นเข้าเขต อ. วังน้อย จะมองเห็นยอดเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ลิบๆ
โดยเบื้องหน้ามีต้นข้าวตั้งท้องอ้วนท้วนเต็มที่ในเดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง
พันธุ์ข้าวที่ปลูกบนพื้นที่นี้ ถ้ามีน้ำนองหลากท่วมต้นข้าวมิดใบวันนี้ พรุ่งนี้ต้นข้าวจะทะลึ่งชูใบขึ้นเหนือน้ำได้ เพราะเป็นต้นข้าวพันธุ์หนีน้ำท่วมที่ท่วมทุกปีไม่มีเว้น
ข้าวหนีน้ำ เป็นข้าวพันธุ์พิเศษ แข็งแรง เมื่อน้ำท่วมมิดต้นใบก็โตหนีน้ำท่วมได้ มีตัวอย่างลำต้นและใบพร้อมรากยาว วัดทั้งหมดได้มากกว่า 1 วา หรือราว 2 เมตร สูงกว่าคนปกติ
แต่เดิมพื้นที่ทุ่งนาของ อ. วังน้อย, อ. อุทัย, ต่อเนื่อง อ. เมือง จ. พระนครศรีอยุธยา เป็น"พื้นที่สีเขียว" ต้องสงวนไว้สำหรับการเกษตรกรรมและรับน้ำธรรมชาติ
ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา รัฐบาลสมัยนั้นประกาศยกเลิกพื้นที่สีเขียว แล้วกำหนดเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรม ซึ่งเท่ากับรุกเข้าไปยึดพื้นที่รับน้ำธรรมชาติให้เหลือน้อยลงหรือหมดไป
นับแต่นั้นโรงงานอุตสาหกรรมก็มีขึ้นเต็มทุ่งนา รวมทั้งรุกล้ำแหล่งประวัติศาสตร์โบราณคดี แล้วตามมาด้วยชุมชนเมืองใหม่ของคนหลากหลาย ทั้งคนทำมาหากินค้าขายและด้วยการรับจ้างทั่วไปกับคนใช้แรงงานในโรงงาน
มีผู้คัดค้านรัฐบาลว่าบริเวณที่ราบลุ่มกว้างใหญ่นี้ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะเมื่อน้ำหลากจะพัดพาตะกอนโคลนตมมาถมทับทุกปี เท่ากับมีปุ๋ยวิเศษมาโดยธรรมชาติ ใช้เพาะปลูกหล่อเลี้ยงกรุงศรีอยุธยามามากกว่า 500 ปีมาแล้ว จึงเหมาะสงวนไว้เป็นพื้นที่สีเขียวทำเกษตรกรรมเข้ากับอยุธยาเมืองประวัติศาสตร์
นอกจากนั้นบริเวณนี้เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมทุกปี จึงไม่เหมาะเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ต้องมีชุมชนหนาแน่นโดยรอบ
รัฐบาลโลภมาก มีผลประโยชน์ทับซ้อนของสังคมไร้ระเบียบ ไม่ฟังเสียงทักท้วง
นับแต่นั้นโรงงานและชุมชนก็เกิดขึ้นอย่างรีบร้อนและรวบรัด โดยมิได้วางแผนรับมือปัญหาน้ำหลาก จึงสร้างทุกอย่างลงที่ลุ่มต่ำขวางทางไหลหลากของน้ำ
ผลคือผู้คนเดือดร้อนแสนสาหัสเห็นอยู่แล้ว
แนวทางแก้ไขให้บรรเทาความเดือดร้อนในอนาคตมีไม่มากนัก
แต่ทางหนึ่งมีผู้รู้แนะนำว่าต้องมีพื้นที่รับน้ำแล้วสร้างทางน้ำไหลให้เบี่ยงเบนออกจากชุมชนไปลงแม่น้ำใหญ่ไหลออกทะเล
ส่วนทางอื่นๆก็มี แต่ยังโกลาหลอยู่ ต้องรอให้สงบก่อน

ที่มา www.matichon.co.th/news_detail.php

กรุงเก่ายังวิปโยคหนัก ชาวบ้านขนของหนีน้ำไม่หยุด

 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาว่า วันนี้ (11 ต.ค.) ชาวบ้านในชุมชนโรงเหล้าเก่า หมู่ 8 ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังคงเร่งขนย้ายข้าวของหนีน้ำกันอย่างต่อเนื่อง เพราะน้ำท่วมชั้นล่างจนมิดแล้วสำหรับบ้านสองชั้น ส่วนบ้านชั้นเดียวได้อพยพไปอยู่ที่อื่นก่อนแล้ว

นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ติดอยู่ในบ้านซึ่งไม่ยอมออกไปไหน เนื่องจากห่วงข้าวของตัวเอง ขณะที่เสบียงอาหารที่เก็บไว้ก็ร่อยหลอลง ไม่มีรถ และเรือออกไปหาซื้อของกินได้ ถุงยังชีพที่คนนำมาบริจาคก็เข้ามาไม่ถึง เพราะไม่มีรถหรือเรือเข้ามาถึงที่ได้ ชาวบ้านต้องอดมื้อกินมื้ออย่างประหยัด

นอกจากนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เดินลุยน้ำทั้งวันเริ่มป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า โรคเครียด แล้วสำหรับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านต่างตกงานกันจำนวนมาก บางคนไม่มีเงินเก็บก็ไม่สามารถไปเช่าบ้านที่ใหม่ได้ และยังไม่รู้ชะตากรรมว่าโรงงานจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ เพราะเจ้าของโรงงานก็ถูกน้ำท่วมขาดทุนเหมือนกัน

สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราว ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านที่ย้ายมาอยู่นั้นชาวบ้าน บอกว่า หาที่เข้าห้องน้ำห้องท่าลำบาก เพราะน้ำไม่ไหล แล้วต้องนอนตากยุงเพราะไม่มีเงินไปซื้อมุ้งมากางนอน

ผู้ว่าฯ ประสาน ตร.ดูแลทรัพย์สิน ปชช.

ขณะที่ทางด้าน พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมประชุมหารือสรุปปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวว่า สิ่งที่ทางจังหวัดต้องเร่งดำเนินการ คือ ค้นหาผู้ที่ยังติดค้างในพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะเกาะเมือง และตั้งศูนย์ประสานงานรับบริจาคและประกอบอาหาร 6 จุด โดยให้นายอำเภอรับผิดชอบจัดซื้ออาหารสดมาประกอบอาหารแก่ประชาชน และเป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของในจุดต่างๆ

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้เร่งประสานตำรวจภูธรภาค 1 จัดกำลังดูแลทรัพย์สินประชาชน โดยได้รับแจ้งว่าบ้านเรือนประชาชนถูกงัด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถูกขโมยนับสิบคัน

"สมเด็จพระเทพฯ" จะเสด็จฯ มจร.
ทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย

นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยด้วยว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ที่อพยพไปอาศัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ณ อ.วังน้อย เนื่องจากบริเวณศาลากลางจังหวัดมีผู้อพยพอยู่จำนวนมาก และเกรงว่าน้ำกำลังจะท่วมและไม่ปลอดภัย จึงทรงมีพระเมตตาให้ช่วยเหลือเรื่องที่พักพิงแก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยจัดที่พักและอาหารให้ที่อาคาร 6 ชั้น ใน มจร. พร้อมจัดรถบริการรับ-ส่ง

ส่วนเวลา 10.30 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จเยี่ยมครัวสายใยรักแห่งครอบครัว ที่มาตั้งให้บริการประชาชนอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด พร้อมพระราชทานน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จังหวัดจำนวน 30,000 ลิตร

ขณะที่การประชุมของจังหวัดเพื่อประเมินจุดที่จะต้องอพยพผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม คาดว่าจะมีอยู่อีกประมาณ 1,500 คน ในพื้นที่เกาะเมือง และรอบเกาะเมือง โดยจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือให้ครบทุกพื้นที่

ทางด้าน ดร.ทวี นริลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะนครศรีอยุธยา ยืนยันว่า นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคยังไม่มีพนังกั้นแตก น้ำสูงขึ้น แต่ยังไม่ถึงขอบพนังกั้นน้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เสริมพนังกั้นตลอดเวลา โดยกายภาพที่ตั้งก็น่าจะสามารถป้องกันได้ โดยที่ไฮเทคจะเป็นการรับน้ำจากเจ้าพระยา ซึ่งระดับน้ำเพิ่มเล็กน้อยและทรงตัว แต่ก็ไม่ประมาทได้มีการจับตาตลอดเวลา ส่วนที่โรจนะท่วมในเฟส 1 ทั้งหมด ส่วนเฟส 2-3 พยายามป้องกันอยู่ ขณะนี้มีการสูบน้ำออกตลอด

สำหรับนิคมในบางปะอิน ได้ดำเนินการคล้ายๆ ไฮเทค ทั้งนี้ ยอมรับว่ากังวลเรื่องน้ำก้อนใหญ่ที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากคันกั้นน้ำทำสูง 6 เมตร ช่วงนี้เพื่อความปลอดภัยของโรงงานต่างๆ ได้แจ้งให้บริษัทต่างๆ ได้หยุดกิจการชั่วคราว เป็นช่วงๆ ส่วนที่น้ำเข้าถ้าสามารถสูบน้ำได้เร็ว น้ำทรงตัว ก็คงฟื้นฟูได้เร็ว ส่วนพื้นที่ที่น้ำไม่เข้าก็เพียงหยุดงานและสามารถเปิดต่อได้เลย

มธ.รังสิตกันพื้นที่ให้แรงงานต่างด้าวจากอุตฯโรจนะ

ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่อาคารยิมเนเซียม 2 มธ.ศูนย์รังสิต ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงเที่ยงได้มีประชาชนในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทยอยเดินทางเข้ารับสิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค โดยนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แห่งนี้สามารถรับผู้อพยพ ได้ประมาณ 1,300 คน ซึ่งขณะนี้มีผู้เข้ามาพัก ประมาณ 800 คน และยังรับได้อีก 500 คน

อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยจะพยายามจัดสรรพื้นที่ เพื่อรองรับผู้อพยพเพิ่มได้อีก อาทิ อาคารกีฬาสเตเดี้ยม ซึ่งรองรับประชาชนได้ 400 คน และในนี้มีการจำกัดพื้นที่ให้แรงงานชาวกัมพูชา ที่มาจากอุตสาหกรรมโรจนะมาแล้ว 200 คน

รถทีมดาราช่วยน้ำท่วมอยุธยา
ถูกน้ำซัดจม แต่ทุกคนปลอดภัย

ข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น.รถออฟโรดที่ขนทีมดารา นักแสดง และบริษัทเวิร์คพอยท์ รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุขณะลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำสิ่งของไปแจกให้แก่ประชาชน โดยรถคันดังกล่าวถูกน้ำซัดจมลงช่วงบริเวณตำบลบางระกำ ทั้งนี้ ภายในรถมีโน๊ต เชิญยิ้ม, หยอง ลูกหยี, บ๊อบ ณัฐธีร์, ริวจิตสัมผัส และสื่อบางส่วน เคราะห์ดีที่ชาวบ้านช่วยเหลือได้ทันและทุกคนสวมเสื้อชูชีพ

เร่งสำรวจคนติดเกาะเมือง
ป้องกันวัดพุทไธศวรรย์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประชุมหารือเพื่อมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทหารบก ทหารเรือ กรมประมง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเร่งสำรวจผู้ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือทั้งอาหารและเครื่องดื่ม

รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ภารกิจในวันนี้ทหารเรือจะไปทำสะพานที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อใช้เป็นทางเดิน ส่วนที่วัดพุทไธศวรรย์ยังคงรักษาวัดได้ จึงประสานขอน้ำมันเพื่อใช้ในการสูบน้ำออกจากแนวคันกั้นน้ำ

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในเกาะเมือง อาทิ ต.คลองสระบัว ต.สวนพริก ต.ลุมพลี ร้องเรียนความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง จึงอยากให้หน่วยงานราชการช่วยดูแลบ้าง


สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯเยี่ยมประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่ จ.อยุธยา

     นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า วันนี้(11 ต.ค.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ที่อพยพไปอาศัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย เนื่องจากบริเวณศาลากลางจังหวัดมีผู้อพยพอยู่จำนวนมาก และเกรงว่าน้ำกำลังจะท่วมและไม่ปลอดภัย จึงทรงมีพระเมตตาให้ช่วยเหลือเรื่องที่พักพิงแก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยจัดที่พักและอาหารให้ที่อาคาร 6 ชั้น ใน มจร. พร้อมจัดรถบริการรับ-ส่ง
ส่วนเวลา 10.30 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จเยี่ยมครัวสายใยรักแห่งครอบครัว ที่มาตั้งให้บริการประชาชนอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด พร้อมพระราชทานน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จังหวัดจำนวน 30,000 ลิตร
ขณะที่การประชุมของจังหวัดเพื่อประเมินจุดที่จะต้องอพยพผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม คาดว่าจะมีอยู่อีกประมาณ 1,500 คน ในพื้นที่เกาะเมือง และรอบเกาะเมือง โดยจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือให้ครบถ้วน

ที่มา www.siamrath.co.th/web

ประมวลภาพ..."โบราณสถาน วัดวาอาราม" จ.อยุธยาที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากน้ำท่วม!!

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยายังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากชาวบ้านที่เดือดร้อนอย่างหนักที่ยังติดค้างอยู่ภายในบ้าน เพราะระบบไฟฟ้า ระบบการประปา การสื่อสารถูกตัดขาด อาหารและเครื่องดื่มที่เก็บไว้เริ่มหมดหาซื้อไม่ได้และยากต่อการเดินทางมารับของแจกที่ศาลากลางจังหวัด
ยิ่งน้ำท่วมนานวันปัญหาก็เริ่มทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ วัดหลาย ๆ แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ได้รับความเสียหายอย่างมากเช่นกัน "สยามรัฐออนไลน์"ได้ประมวลภาพเหตุการณ์น้ำท่วม วัดวาอาราม ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายมาให้ดู....


ที่มา www.siamrath.co.th/web

เร่งสูบน้ำออกจากวัดไชยวัฒนาราม จ.อยุธยา

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำที่ทะลักท่วมวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า ภายในเวลา 18.00 น. วันนี้ จะเร่งสูบน้ำออกจากวัดไชยวัฒนารามให้แล้วเสร็จ หรือให้อยู่ระดับที่น่าพอใจที่สุด และในช่วงบ่ายวันนี้ เวลา 14.00น. จะเดินทางลงพื้นที่ไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ณ จุดน้ำท่วมและจุดที่เกิดความเสียหายเพื่อดำเนินการแก้ไขช่วยเหลือประชาชนและกู้คืนโบราณสถานที่เกิดความเสียหาย รวมทั้งเรียกประชุมมอบนโยบายให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วประเทศอย่างดีที่สุด
ด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า แนวทางในการกู้โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม จะใช้คันดินทำเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมตลอดแนวถนนบ้านป้อม คลองตะเคียน หลังจากนั้นจะใช้วิธีสูบน้ำออก คาดว่าภายในเวลา 18.00 น.โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม น่าจะกลับสู่สภาพปกติ

ที่มา www.thanonline.com/index.php

ยูเนสโกอนุมัติงบ 2.3 ล้าน ช่วยมรดกอยุธยา

 
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก สำนักงานใหญ่ ยูเนสโก กรุงปารีส ได้ส่งหนังสือแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งระบุว่า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด มีความยินดีให้ความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือโบราณสถาน ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกของไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
โดยจะทำหนังสือถึง สำนักงานยูเนสโก กรุงปารีส และ สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพ ฯ เพื่อของบช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งทางยูเนสโก ได้แจ้งว่า สามารถอนุมัติเงินดังกล่าวได้ทันที จำนวน 75,000 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 2,325,000 บาท โดยกรมศิลปากร จะนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการบูรณะโบราณสถานภายหลังจากน้ำลดระดับลงแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้ ทางกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ ได้จัดส่งเรือยาง พร้อมเจ้าหน้าที่มาประจำการ ที่ จ. อยุธยา เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอาจจะมีการเข้าตรวจสอบความเสียหายของโบราณสถานในเบื้องต้นด้วย
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงเวลานี้ ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักมาก ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี เพื่อจดบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่วิกฤติหนักมากที่สุดในรอบ 10 กว่าปี ชาวบ้านจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน มีผู้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันสถานที่สำคัญของชาติ
อาทิ โบราณสถาน วัดวาอาราม สถานที่ราชการ บ้านเรือนที่พักอาศัยของประชาชนจำนวนมากได้รับความเสียหาย โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บข้อมูลถ่ายภาพ สัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และผู้ให้ความช่วยเหลือ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ กับเหตุการณ์ นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมข้อมูลจากสื่อหนังสือพิมพ์ ที่ได้เผยแพร่ข่าวสาร ณ ช่วงเวลาที่ผ่านมา ไปจนถึงช่วงที่เหตุการณ์คลี่คลาย

ที่มา www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20111011/413294/ยูเนสโกอนุมัติงบ2.3ล้าน-ช่วยมรดกอยุธยา.html

กรุงเก่าระทมหนัก-ผวาไอ้เข้หลุดซ้ำ

เมื่อวันนี้ ( 12 ต.ค.) มีรายงานว่าสถานการณ์น้ำในตัวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย อาจเนื่องมาจากเขื่อนหรือแนวกั้นน้ำในจังหวัดใกล้เคียงแตกไหลเข้ามาในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มีความลึกประมาณ 1.20- 2 เมตร โบราณสถานส่วนใหญ่ในเกาะเมืองเช่นวัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดพระราม พระนอน และโบราณสถานทั่วไป รวมไปถึงสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยายังคงจมน้ำ โดยมีเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างติดอยู่ที่ทำงานจำนวนมาก รอคอยอาหารแจก เช่นเดียวกับประชาชนจำนวนมาก ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ น้ำประปาถูกตัดมาหลายวัน โทรศัพท์ใช้การไม่ได้ ขาดการติดต่อกับโลกภายนอก และยังมีความกวาดกลัวจากข่าวจระเข้หลุด ในพื้นที่หมู่ 8 ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล 35 ตัวต่สามารถจับได้เพียง 13 ตัว

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมามีจระเข้หลุด ในพื้นที่ หมู่ 4 ต.บ้านกลึง อ.บางไทร 140 ตัวและจับได้เพียง 45 ตัว ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าลอยคอออกไปรับของ รวมทั้งมีผู้สูงอายุติดตามบ้านเรือนอีกจำนวนมาก.

กรุงเก่าวิกฤติ! โบราณสถานป้อมเพชรท่วมแล้ว - คาดย้ายนักโทษหมดวันนี้

ความคืบหน้าเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันนี้ (7 ต.ค.) พบว่า ปริมาณน้ำสูงขึ้นมาก ทำให้โบราณสถานป้อมเพชรอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมตัวป้อมเพชร และปริมาณน้ำจะสูงขึ้นอีกกว่า 50 เซนติเมตร คาดว่า จะสูงขึ้นถึงระดับถนนและทำให้ป้อมเพชรต้องแช่น้ำ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าห่วง เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นจุดศูนย์รวมของแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ลพบุรี และป่าสัก ไหลมารวมกันทำให้กระแสน้ำวน ไหลเชี่ยว และจะทำให้ฐานรากของป้อมเพชรพังทลาย

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ขณะนี้ยูเนสโก ได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถาน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลกแล้ว โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนารามที่ได้รับความเสียหายหนัก หากได้รับการช่วยเหลือจากยูเนสโก ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีต่อการบูรณะซ่อมแซม โดยในระหว่างนี้กระทรวงวัฒนธรรม ได้เปิดให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินบูรณะโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วม ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนิน ชื่อบัญชีโครงการบูรณะโบราณสถาน กรมศิลปากร เลขที่ 081-0-09603-6

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย นายประภัตร โพธสุธน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำรถครัวเคลื่อนที่มาทำอาหารแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน ในเขต อ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับชื่นชมการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่เน้นการจัดหาอาหารให้กับประชาชน แต่จะต้องทำให้ทั่วถึง โดยเฉพาะน้ำดื่มที่หลายพื้นที่ยังคงขาดแคลน

ขณะที่การขนย้ายผู้ต้องหาจากเรือนจำกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา นายสมศักดิ์ รังสิโยภาส รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้มาอำนวยการขนย้ายผู้ต้องขังจำนวนกว่า 3,700 คน ซึ่งขณะนี้น้ำท่วมสูง 1.70 เมตร เจ้าหน้าที่มีแผนอพยพให้หมดภายในวันนี้ ด้วยการนั่งเรือมาขึ้นที่คลองข้าวเม่า เพื่อนำไปฝากขังตามเรือนจำต่างๆ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด


วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรุงเก่าวิกฤต!! เรือนจำกลาง-ตลาดน้ำอโยธยา จมบาดาลแล้ว

เมื่อเวลา 17.00 น.วันนี้ (5 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า สถานการณ์น้ำยังคงวิกฤตอย่างหนักในหลายพื้นที่ น้ำจากเจ้าพระยาและป่าสัก ยังคงไหลทะลักพังคันดินด้านวัดหันตรา และบ้านเกาะ น้ำทะลักเข้าท่วมที่ทำการเทศบาลเมืองอโยธยา ตลาดน้ำอโยธยา ที่มีชื่อเสียงจนจมบาดาลอีกแห่งหนึ่ง และยังขยายวงกว้างเข้าท่วมชุมชนวัดพญาติการาม ชุมชนวัดกะสังข์ หมู่บ้านเคหะชุมชน (หลังโรงแรมอู่ทอง) ถนนสายโรจนะ ฝั่งขาออกบริเวณวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้มสูง 50 ซม.ทำให้จราจรใช้ได้ช่วงทางเดียว

ล่าสุด น้ำได้ทะลักเข้าท่วมเรือนจำกลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบางส่วนแล้ว เจ้าหน้าที่เรือนจำต้องขนสิ่งของและอุปกรณ์ออกจากเรือนจำและคอยเฝ้าสถานการณ์น้ำก่อนที่จะย้ายนักโทษต่อไป

ที่ผ่านมา ตลาดหัวรอน้ำท่วมหมดแล้ว ขณะนี้พื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทางจังหวัดและทุกหน่วยงานเร่งป้องกันเกาะเมืองนับเป็นหัวใจสำคัญของ จ.พระนครศรีออยุธยา อย่างเต็มที่โดยมีน้ำจำนวนมหาศาลล้อมรอบเกาะอย่างน่าเป็นห่วง

ขณะที่ นายณรงค์ ด่านชัยวิโรจน์ นายกเทศบาลเมืองอโยธยา ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่เสริมคันดินวางตามแนวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมตลาดแกรนด์ และวางแนวสะพานให้คนเดินเข้าออกตามตรอกซอกซอยได้

ส่วน ตลาดน้ำอโยธยา ได้ประกาศให้แม่ค้าที่ขายในตลาดขนย้ายข้าวของออกจนหมดแล้ว ตอนนี้ปิดตลาดชั่วคราว จนกว่าระดับน้ำจะลด

ด้าน พ.ต.อ.ภูวดิท ชนะคชภัทร์ รองผบก.ภ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ได้ใช้กำลังตำรวจจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกการจราจรบริเวณที่น้ำท่วมจากเจดีย์สามปลื้ม ถึงสี่แยกวัดพระญาติ เนื่องจากต้องปัดการจราจรให้รถวิ่งสวนกันได้ในช่วงเดียวกัน

กรุงเก่ายังวิกฤตหนัก คันกั้นวัดกษัตราฯ-วัดเขียน พัง ทะลักท่วมบ้านเรือนไม่หยุด

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ยังวิกฤตหนัก โดยเฉพาะเมื่อช่วงเวลา 05.00 น.วานนี้ (7 ต.ค.) คันดินกั้นน้ำวัดกษัตราธิราช วรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวังหลังหรือวังสวนหลวงได้พังลง ทำให้น้ำไหลข้ามฟากเข้าท่วมหมู่บ้านวรเชษฐ์ โดยทาง อบต.ได้ประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านขนของขึ้นน้ำสูง ส่วนถนนหน้าวัดเจดีย์ น้ำสูงขึ้นอีกกว่า 50 เซนติเมตร ทำให้หน้าโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำสูงขึ้นอีกกว่า 1 เมตร

ต่อมาเวลาประมาณ 07.00 น.คันดินกั้นน้ำวัดเขียนตลาดหัวรอ ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา ได้พังลงมาอีก 1 จุด ทั้งนี้ นายกเทศบาลเมืองอโยธยา ได้ประกาศเตือนประชาชนให้เร่งขนย้ายของขึ้นที่สูง เพราะมีการคาดการณ์ไว้ว่ามวลน้ำจะทะลักเข้าท่วมทุกพื้นที่ฝั่งอโยธยาช่วงเที่ยงของวันเดียวกัน

ท่วมอยุธยาทะลักเข้าท่วมอำเภออุทัยแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุด น้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ขยายวงกว้างเพียงแค่วันเดียวน้ำที่ท่วมจากวงเวียนเจดีย์และแยกวัดพระญาติ ไหลทะลักเข้าท่วมหลายพื้นที่ เพราะแนวกำแพงดินและคันกระสอบทรายกั้นน้ำที่กั้นน้ำ ไม่สามารถทานแรงดันของน้ำได้ จึงทำให้คันกั้นน้ำพัง น้ำที่เต็มอยู่เหนือคันกั้นน้ำจึงไหลทะลักอย่างแรงน้ำกระจายครอบคลุมทั่วพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไหลไปตามถนนโรจนะที่รถวิ่งสัญจรไปมากลายเป็นแม่น้ำย่อยๆ ภายในพริบตา แล้วไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนนเรศวร (ซ.น้องแดง ) ม.1 อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา กว่า 50 ซม.ซึ่งมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามหอพักต่างๆ ต้องขนย้ายของหนีน้ำกันโกลาหล ต้องเดินลุยน้ำกันเป็นกิโล ในการขนย้าย ระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ได้ทะลักเข้าท่วมย่านสถานบันเทิง ตลาดแกรนด์ แล้ว

สนามกีฬาพระนครศรีอยุธยาจมแล้ว

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ น้ำยังได้ทะลักเข้าท่วมสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วทั่วพื้นที่ ถนนทุกสายรอบๆ สนามกีฬา เต็มไปด้วยน้ำ และได้ขยายพื้นที่ท่วมเพิ่มโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล จ่อทะลักเข้าท่วมศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและศูนย์การค้าแห่งใหญ่อีกด้วย

ล่าสุด เวลา 17.00 น.ว่าที่ร้อยตรี สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีนครพรนครศรีอยุธยา ได้ใช้รถประกาศเตือนให้ชาวบ้านรีบขนย้ายของภายใน 5 ชั่วโมง เพราะคันกั้นน้ำหลายจุดไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจึงให้ชาวบ้านรีบขนย้ายของขึ้นที่สูงและเคลื่อนย้ายรถออกไปให้พ้นจากพื้นที่เสี่ยง

โบราณสถานป้อมเพชรวิกฤต-น้ำเพิ่ม

นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นมาก ทำให้โบราณสถานป้อมเพชรอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมตัวป้อมเพชร และปริมาณน้ำจะสูงขึ้นอีกกว่า 50 เซนติเมตร คาดว่า จะสูงขึ้นถึงระดับถนนและทำให้ป้อมเพชรต้องแช่น้ำ ถือเป็นสิ่งที่น่าห่วง เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นจุดศูนย์รวมของแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ลพบุรี และป่าสัก ไหลมารวมกันทำให้กระแสน้ำวน ไหลเชี่ยว และจะทำให้ฐานรากของป้อมเพชรพังทลาย

นางสุกุมล กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ ยูเนสโก ได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถาน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งมรดกโลกแล้ว โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนารามที่ได้รับความเสียหายหนัก หากได้รับการช่วยเหลือจากยูเนสโก ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีต่อการบูรณะซ่อมแซม โดยในระหว่างนี้กระทรวงวัฒนธรรม ได้เปิดให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินบูรณะโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วม ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนิน ชื่อบัญชีโครงการบูรณะโบราณสถาน กรมศิลปากร เลขที่ 081-0-09603-6

กนอ.สั่งปิดนิคมอุตฯอยุธยา 5 วัน

วันเดียวกัน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) จ.พระนครศรีอยุธยา หลังสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดการประกอบกิจการชั่วคราว เป็นเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 7-11 ต.ค.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และลดผลกระทบที่จะเกิดความเสียหาย รวมไปถึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับ กนอ.ในการดำเนินการป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกเอ่อเข้าท่วมภายในบริเวณนิคมฯ ทั้งนี้ หากกรณีเกิดเหตุน้ำท่วม ทาง กนอ.จะตั้งศูนย์อำนวยการที่ สำนักนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และหากเหตุการกลับสู่สภาวะปกติจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบอีกครั้งหนึ่ง


กรุงเก่ายังวิปโยคหนัก ชาวบ้านขนของหนีน้ำไม่หยุด

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาว่า วันนี้ (11 ต.ค.) ชาวบ้านในชุมชนโรงเหล้าเก่า หมู่ 8 ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ยังคงเร่งขนย้ายข้าวของหนีน้ำกันอย่างต่อเนื่อง เพราะน้ำท่วมชั้นล่างจนมิดแล้วสำหรับบ้านสองชั้น ส่วนบ้านชั้นเดียวได้อพยพไปอยู่ที่อื่นก่อนแล้ว

นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ติดอยู่ในบ้านซึ่งไม่ยอมออกไปไหน เนื่องจากห่วงข้าวของตัวเอง ขณะที่เสบียงอาหารที่เก็บไว้ก็ร่อยหลอลง ไม่มีรถ และเรือออกไปหาซื้อของกินได้ ถุงยังชีพที่คนนำมาบริจาคก็เข้ามาไม่ถึง เพราะไม่มีรถหรือเรือเข้ามาถึงที่ได้ ชาวบ้านต้องอดมื้อกินมื้ออย่างประหยัด

นอกจากนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เดินลุยน้ำทั้งวันเริ่มป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า โรคเครียด แล้วสำหรับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านต่างตกงานกันจำนวนมาก บางคนไม่มีเงินเก็บก็ไม่สามารถไปเช่าบ้านที่ใหม่ได้ และยังไม่รู้ชะตากรรมว่าโรงงานจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ เพราะเจ้าของโรงงานก็ถูกน้ำท่วมขาดทุนเหมือนกัน

สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราว ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านที่ย้ายมาอยู่นั้นชาวบ้าน บอกว่า หาที่เข้าห้องน้ำห้องท่าลำบาก เพราะน้ำไม่ไหล แล้วต้องนอนตากยุงเพราะไม่มีเงินไปซื้อมุ้งมากางนอน

ผู้ว่าฯ ประสาน ตร.ดูแลทรัพย์สิน ปชช.

ขณะที่ทางด้าน พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมประชุมหารือสรุปปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวว่า สิ่งที่ทางจังหวัดต้องเร่งดำเนินการ คือ ค้นหาผู้ที่ยังติดค้างในพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะเกาะเมือง และตั้งศูนย์ประสานงานรับบริจาคและประกอบอาหาร 6 จุด โดยให้นายอำเภอรับผิดชอบจัดซื้ออาหารสดมาประกอบอาหารแก่ประชาชน และเป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของในจุดต่างๆ

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้เร่งประสานตำรวจภูธรภาค 1 จัดกำลังดูแลทรัพย์สินประชาชน โดยได้รับแจ้งว่าบ้านเรือนประชาชนถูกงัด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถูกขโมยนับสิบคัน

"สมเด็จพระเทพฯ" จะเสด็จฯ มจร.
ทรงเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย

นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยด้วยว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ที่อพยพไปอาศัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ณ อ.วังน้อย เนื่องจากบริเวณศาลากลางจังหวัดมีผู้อพยพอยู่จำนวนมาก และเกรงว่าน้ำกำลังจะท่วมและไม่ปลอดภัย จึงทรงมีพระเมตตาให้ช่วยเหลือเรื่องที่พักพิงแก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยจัดที่พักและอาหารให้ที่อาคาร 6 ชั้น ใน มจร. พร้อมจัดรถบริการรับ-ส่ง

ส่วนเวลา 10.30 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จเยี่ยมครัวสายใยรักแห่งครอบครัว ที่มาตั้งให้บริการประชาชนอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด พร้อมพระราชทานน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่จังหวัดจำนวน 30,000 ลิตร

ขณะที่การประชุมของจังหวัดเพื่อประเมินจุดที่จะต้องอพยพผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม คาดว่าจะมีอยู่อีกประมาณ 1,500 คน ในพื้นที่เกาะเมือง และรอบเกาะเมือง โดยจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือให้ครบทุกพื้นที่

ทางด้าน ดร.ทวี นริลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะนครศรีอยุธยา ยืนยันว่า นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคยังไม่มีพนังกั้นแตก น้ำสูงขึ้น แต่ยังไม่ถึงขอบพนังกั้นน้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เสริมพนังกั้นตลอดเวลา โดยกายภาพที่ตั้งก็น่าจะสามารถป้องกันได้ โดยที่ไฮเทคจะเป็นการรับน้ำจากเจ้าพระยา ซึ่งระดับน้ำเพิ่มเล็กน้อยและทรงตัว แต่ก็ไม่ประมาทได้มีการจับตาตลอดเวลา ส่วนที่โรจนะท่วมในเฟส 1 ทั้งหมด ส่วนเฟส 2-3 พยายามป้องกันอยู่ ขณะนี้มีการสูบน้ำออกตลอด

สำหรับนิคมในบางปะอิน ได้ดำเนินการคล้ายๆ ไฮเทค ทั้งนี้ ยอมรับว่ากังวลเรื่องน้ำก้อนใหญ่ที่กำลังจะมาถึง เนื่องจากคันกั้นน้ำทำสูง 6 เมตร ช่วงนี้เพื่อความปลอดภัยของโรงงานต่างๆ ได้แจ้งให้บริษัทต่างๆ ได้หยุดกิจการชั่วคราว เป็นช่วงๆ ส่วนที่น้ำเข้าถ้าสามารถสูบน้ำได้เร็ว น้ำทรงตัว ก็คงฟื้นฟูได้เร็ว ส่วนพื้นที่ที่น้ำไม่เข้าก็เพียงหยุดงานและสามารถเปิดต่อได้เลย

มธ.รังสิตกันพื้นที่ให้แรงงานต่างด้าวจากอุตฯโรจนะ

ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่อาคารยิมเนเซียม 2 มธ.ศูนย์รังสิต ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงเที่ยงได้มีประชาชนในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทยอยเดินทางเข้ารับสิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค โดยนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แห่งนี้สามารถรับผู้อพยพ ได้ประมาณ 1,300 คน ซึ่งขณะนี้มีผู้เข้ามาพัก ประมาณ 800 คน และยังรับได้อีก 500 คน

อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยจะพยายามจัดสรรพื้นที่ เพื่อรองรับผู้อพยพเพิ่มได้อีก อาทิ อาคารกีฬาสเตเดี้ยม ซึ่งรองรับประชาชนได้ 400 คน และในนี้มีการจำกัดพื้นที่ให้แรงงานชาวกัมพูชา ที่มาจากอุตสาหกรรมโรจนะมาแล้ว 200 คน

รถทีมดาราช่วยน้ำท่วมอยุธยา
ถูกน้ำซัดจม แต่ทุกคนปลอดภัย

ข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น.รถออฟโรดที่ขนทีมดารา นักแสดง และบริษัทเวิร์คพอยท์ รวมทั้งสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุขณะลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำสิ่งของไปแจกให้แก่ประชาชน โดยรถคันดังกล่าวถูกน้ำซัดจมลงช่วงบริเวณตำบลบางระกำ ทั้งนี้ ภายในรถมีโน๊ต เชิญยิ้ม, หยอง ลูกหยี, บ๊อบ ณัฐธีร์, ริวจิตสัมผัส และสื่อบางส่วน เคราะห์ดีที่ชาวบ้านช่วยเหลือได้ทันและทุกคนสวมเสื้อชูชีพ

เร่งสำรวจคนติดเกาะเมือง
ป้องกันวัดพุทไธศวรรย์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายณรงค์ อ่อนสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประชุมหารือเพื่อมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ทหารบก ทหารเรือ กรมประมง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเร่งสำรวจผู้ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเข้าไปให้การช่วยเหลือทั้งอาหารและเครื่องดื่ม

รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ภารกิจในวันนี้ทหารเรือจะไปทำสะพานที่อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อใช้เป็นทางเดิน ส่วนที่วัดพุทไธศวรรย์ยังคงรักษาวัดได้ จึงประสานขอน้ำมันเพื่อใช้ในการสูบน้ำออกจากแนวคันกั้นน้ำ

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในเกาะเมือง อาทิ ต.คลองสระบัว ต.สวนพริก ต.ลุมพลี ร้องเรียนความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง จึงอยากให้หน่วยงานราชการช่วยดูแลบ้าง


อยุธยา 2011 โกลาหล...จมบาดาล ฐานผลิตอุตสาหกรรมอ่วม 3 หมื่นล้าน !!

วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้สาหัสอย่างยิ่งสำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะเป็นเมืองที่รองรับมวลน้ำจากภาคเหนือทั้งหมด ที่สำคัญเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาห กรรม เมืองท่องเที่ยวมรดกโลก
น้ำได้เริ่มเข้าท่วมพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมายังรักษาพื้นที่เมืองชั้นในไว้ได้ แต่ล่าสุดน้ำท่วมครบทั้ง 16 อำเภอแล้ว โดยสถานการณ์เริ่มวิกฤตเช้าวันที่ 4 ตุลาคม น้ำไหลเข้าท่วมวัดไชยวัฒนารามและชุมชนรอบข้าง

อีกเพียงชั่วข้ามคืนมวลน้ำก้อนใหญ่จากแม่น้ำ 4 สายหลักคือ แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำลพบุรี-แม่น้ำน้อย-แม่น้ำป่าสัก ผนวกกับน้ำจากการพังของประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ไหลเข้ามาสมทบอีก มวลน้ำจากทุกทิศทุกทางปิดล้อมเมืองอยุธยา

สถานการณ์เข้าสู่ "จุดวิกฤต" ในช่วงบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม พื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเก่าถูกมวลน้ำโจมตีทะลักเข้าท่วมในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งโรงงานทั้ง 46 แห่งในนิคมอุตสาหกรรม "สหรัตนนคร" ที่อำเภอคลองหลวงจมบาดาลในชั่วพริบตา และน้ำยังจ่อจะทะลักเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมอีก 5 แห่ง

นอกจากนี้ น้ำยังเอ่อล้นเข้าท่วมถนนสายเอเชีย รถยนต์สัญจรไม่ได้ การจราจรติดขัดยาว 40-50 กิโลเมตร การเดินทางและการขนส่งสู่ภาคเหนือกลายเป็นอัมพาต

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจพบว่า พื้นที่อุตสาหกรรมหลัก ๆ ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, บ้านหว้า (ไฮเทค), สหรัตนนคร และส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน พื้นที่ 1,962 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ 90 โรง คนงาน 60,000 คน มูลค่าการลงทุนรวม 60,000 ล้านบาท โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สวนอุตสาหกรรมโรจนะ พื้นที่ 3,675 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ 198 โรง เป็นที่ตั้งของโรงงานชื่อดัง อาทิ ฮอนด้า, ฮิตาชิ, แคนนอน, นิคอน, พานาโซนิค ฯลฯ ล่าสุด (6 ต.ค.) หลายโรงงานหยุดเดินเครื่องแล้ว และประกาศให้มีการหยุดงานแล้ว 5 วัน เนื่องจากน้ำก้อนใหญ่จ่อจะทะลักเข้าท่วม

นางสาวลักขณา เมี้ยนกำเนิด ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินกล่าวว่า โรงงานสามารถดำเนินการผลิตได้ปกติ แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เตรียมรับมือปริมาณน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลลงมา และให้เตรียมอพยพย้ายสินค้า วัตถุดิบออกจากโรงงานเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

สำหรับสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ขณะนี้โรงงานได้หยุดการผลิตทั้งหมด และเตรียมขนย้ายสินค้า วัตถุดิบออกนอกโรงงาน พร้อมอพยพคนงานออกหมดแล้ว ซึ่งการหยุดการผลิตของโรงงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะนี้ ทำให้บางโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินที่เป็นผู้ผลิตส่งสินค้าให้กับโรงงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะต้องลดหรือหยุดผลิตตามไปด้วย

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ตั้งอยู่บริเวณถนนสายเอเชีย-นครสวรรค์ อำเภอบางปะอิน พื้นที่ 2,379 ไร่ มีโรงงานทั้งสิ้น 143 ราย แรงงาน 51,186 คน มูลค่าการลงทุน 65,312 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก บริเวณรอบนิคมระดับน้ำขึ้นสูงต่อเนื่องและรวดเร็ว

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร น้ำเริ่มเข้าท่วมตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ปริมาณน้ำท่วมสูง 2-3 เมตร โรงงานได้รับผลกระทบ 43 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 30,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโรงงานของนักลงทุนญี่ปุ่น ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ด้าน นายทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เปิดเผยว่า การเดินเรือขนส่งสินค้าโดยเฉพาะปูนซีเมนต์ ข้าว และถ่านหินมาตามแม่น้ำป่าสักในเขต อ.นครหลวง ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เรือสินค้าต้องจอดหลบไม่กล้าเสี่ยงเพราะท้ายขบวนอาจกระแทกกับสะพานข้ามแม่น้ำ บางลำผ่านสะพานไม่ได้เพราะระดับน้ำสูง

น้ำท่วมเมืองกรุงเก่ายังส่งผลให้ย่านเศรษฐกิจการค้า สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหยุดชะงักหมด เช่น ปางช้างอโยธยา โบราณสถานวัดเก่าแก่ ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดหัวรอ ที่พักริมน้ำ เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร ฯลฯ การท่องเที่ยวซบเซาทั้งหมด

อุทกภัยครั้งนี้จึงสร้างความเสียหายให้กับภาคการผลิตและอุตสาหกรรมอย่างหนัก...!

น้ำถล่ม..."กรุงเก่า" ราบคาบ

วันที่ 6 ตุลาคมเสมือนเป็นวันโลกาวินาศสำหรับชาวอยุธยาโดยแท้ หลังจากฝนตกหนักทั้งคืนส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อเข้าท่วมทั้งจังหวัดอย่างไม่ปรานีในรอบหลายสิบปี

"ประชาชาติธุรกิจ" ลงสำรวจพื้นที่ผู้ประสบภัยหลายพื้นที่ พบว่าทั้งพื้นที่รอบเกาะเมืองและหลายอำเภอ น้ำท่วมสูงหนักถึง 3-4 เมตร เนื่องจากน้ำเอ่อท่วมอย่างรวดเร็ว

ชาวบ้านหลายคนเครียดเหนื่อยล้าและไม่สบาย เพราะน้ำที่ขังอยู่ในบ้านกลายเป็นน้ำเน่ามานานกว่า 1 เดือน และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐเท่าที่ควร

ที่ ต.ตาลเอน อ.บางปะหัน และ ต.บ้านขล้อ อ.นครหลวง น้ำยังคงท่วมขังอย่างหนัก ประชาชนกว่า 1,000 ครอบครัวเริ่มขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม

หลายครอบครัวใน อ.นครหลวง อพยพออกจากบ้านมานอนกางเต็นท์อยู่ริมถนนใหญ่ เพราะที่นาหลายสิบไร่จมน้ำทั้งหมด บ้านกลายเป็นเรือนร้างลอยเท้งเต้งอยู่กลางน้ำ ที่น่าเศร้าใจคือบ้านของชาวบ้านหลายคนกลายเป็นจุดทิ้งขยะ กองโตลอยอยู่กลางน้ำ

ส่วนเขตเทศบาลเมืองอโยธยา โดยเฉพาะชุมชนตลาดน้ำอโยธยา แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังน้ำได้เอ่อล้นทะลักเข้าท่วมอย่างน่ากลัว ชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซ้ำร้ายการจราจรยังติดขัดจนเทศบาลต้องประกาศเตือนประชาชนให้ ขนย้ายทรัพย์สินขึ้นสูงอย่างจ้าละหวั่น สิ่งที่ชาวอโยธยาเดือดร้อนหนักตอนนี้คือ ไม่มีห้องน้ำใช้ แถมน้ำประปายังถูกตัดขาด สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ เรือ และสุขาเคลื่อนที่

ส่วนในตัวเมืองไม่ต้องพูดถึง น้ำท่วมหนักสุดในรอบหลายสิบปี น้ำท่วม 1-2 เมตร แต่ที่ได้รับผลกระทบในวงกว้างคือ น้ำเอ่อท่วมถนนสายเอเชียช่วงบางปะหัน-อ่างทอง ทำให้รถติดยาวเหยียดหลายกิโลเมตรทั้งขาเข้าและออก การจราจรเป็นอัมพาตยาวกว่า 30-40 กิโลเมตร

"วิทยา ผิวผ่อง" ผู้ว่าฯเมืองกรุงเก่าประเมินว่า น้ำน่าจะ ท่วมขังนานในอยุธยาอีกกว่า 1 สัปดาห์ เพราะมวลน้ำหลัก จากแม่น้ำลพบุรีจะไหลเข้ามาสบทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร


ที่มา www.prachachat.net/news_detail.php

เติ้งชงผุดเขื่อนกั้นรอบเมืองอยุธยา

นายบรรหาร ศิลปะอาชา ประธานที่ปรึกษา รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเดินทางไปยังจุดสอบเทียบปริมาณน้ำ จ. เชียงใหม่ กล่าวว่าสำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาในจุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำรวมทั้งหมดที่สะสมอยู่ทั้งทางภาคเหนือตอนล่างได้แก่กำแพงเพชร พิษณุโลก และนครสวรรค์ ซึ่งมีปริมาณน้ำกว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เมื่อรวมกับปริมาณน้ำสะสมอยู่เดิมทางภาคกลางไล่มาตั้งแต่อุทัยธานี ชัยนาทสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยาที่มีปริมาณน้ำอยู่ 3,000 ล้านลบ.ม. รวมทั้งสิ้นจะมีปริมาณน้ำรวม 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งการไหลของน้ำไม่มาได้มาพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว
จากกรณีดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งรัดดำเนินการอยู่ในขณะนี้เพื่อชะลอหรือยับยั้งปริมาณน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ตอนล่างโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นการเร่งซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรีที่จะแล้วเสร็จในวัน ที่ 12 ตุลาคม 2554 อย่างแน่นอน จากนั้นจะมีการเคลื่อนกำลังพลทั้งหมดไปซ่อมแซมคันกั้นน้ำขาดที่เขากระดี่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
ขณะเดียวกัน ยังได้บริหารจัดการน้ำในเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักฯที่จะลดการระบายน้ำลงเพื่อไม่ให้ปริมาณน้ำกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อนไปมากกว่านี้ ซึ่งในวันนี้ได้ลดการระบายน้ำที่เขื่อนป่าสักฯ เหลือ 850 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และในวันที่ 11 จะลดลงเหลือ 750 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ทั้งนี้หากไม่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติมก็จะเริ่มทยอยลดการระบายน้ำ ภายใน 4 - 5 วันนี้
นายบรรหาร กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ภายใน 1- 2 วันนี้จะเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์เพื่อบินตรวจสถานการณ์น้ำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและลพบุรี ที่สถานการณ์ยังวิกฤตและน่าเป็นห่วงโดยแนวทางหนึ่งที่จะเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ การสร้างเขื่อนกั้นน้ำบริเวณวัดไชยวนาราม และรอบเกาะอยุธยารวมถึงแต่ละจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมควรจะมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรในจังหวัดของตนเองเพื่อชะลอการไหลของน้ำเช่น จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ที่มา www.posttoday.com/การเมือง/115497/เติ้งชงผุดเขื่อนกั้นรอบเมืองอยุธยา

อยุธยาอ่วมหนัก น้ำขยายวงท่วมทั้งจังหวัด สูง 2-4 เมตร"เกาะเมือง-เขตเศรษฐกิจ"ไม่รอด

น้ำหลากตามทุ่งจากจังหวัดลพบุรี ไหลผ่านอำเภอบ้านแพรกสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแบบต่อเนื่องและเข้าท่วมในชุมชนสูงกว่า 2-3 เมตร หากเป็นในทุ่งจะท่วมประมาณ 3-4 เมตร
ทางด้านถนนสายสำคัญหลายสายถูกกระแสน้ำบ่าข้ามจนรถยนต์ไม่สามารถเดินทางผ่านไปได้ เช่น ถนนสายอยุธยา-บางปะอินสายใน ถนนสายนครหลวง-ท่าเรือ ถนนสายบางพระครู-ท่าเรือ ถนนอยุธยา-มหาราช ถนนสายมหาราช-บ้านแพรก ถนนสายบ้านแพรก-ลพบุรี ถนนบางบาล-ผักไห่ ถนนสายผักไห่-เสนา
ขณะที่ถนนสายรองที่เป็นถนนคันคลองชลประทานยังถูกน้ำท่วมบ่าข้ามทุ่งอีกจำนวนมาก เช่น ถนนคันคลองชลประทานบ้านเจ้าปลุก-คลองน้อย ถนนคลองน้อย-ไชโย ถนนสายบ้านขล้อ-ตาลเอน และมีหลายเส้นทาง ทางจังหวัดได้เสริมแนวคันดินเพิ่มความสูงของถนนที่มีระดับสูง 3 เมตรแต่ยังไม่รอดถูกน้ำท่วมให้สูงขึ้นไปอีก

สำหรับเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาพบว่าเข้าขั้นวิกฤตเช่นกัน น้ำทะลักเข้าซอยโรงรับจำนำท่วมถนนอู่ทอง ตลาดหัวรอ ชุมชนหน้าโรงเรียนเทศบาลวัดเขียนติดตลาดหัวรอ และไหลข้ามถนนอู่ทอง ที่เป็นถนนล้อมรอบเกาะเมืองและเป็นแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเกาะเมืองที่ระดับความสูงกว่า 20 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ต้องเริ่มซ่อมแนวกั้นน้ำจนสำเร็จ

ส่วนเขตเศรษฐกิจสองฝั่งถนนโรจนะถือเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ของจังหวัดและเป็นเขตที่ตั้งร้านค้ามากมาย พบว่าเจ้าหน้าที่ได้ออกรถประกาศให้ชาวบ้านร้านค้าเก็บข้าวของ โดยคันกั้นน้ำหันตราไม่สามารถทนแรงดันน้ำได้ น้ำไหลทะลักเข้าพื้นที่ เจ้าหน้าที่กำลังเร่งซ่อมแต่ยังไม่สำเร็จ ทำให้น้ำด้านนอกคันล้อมที่สูงกว่าด้านในประมาณ 2 เมตร ทะลักเข้าพื้นที่

คันกั้นน้ำวัดไชยวัฒนารามพังทลาย ไม่ถึง 10 นาที เก็บของ-หนีตายวุ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 4 ตุลาคม คันกั้นน้ำฝั่งทิศใต้ของโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม อายุกว่า 500 ปี ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่กว่าร้อยไร่ได้พังทลายลงจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยน้ำได้ไหลทะลักท่วมสูงกว่า 2 เมตร ในเวลาไม่ถึง 10 นาที และมวลน้ำจำนวนมหาศาลยังไหลข้ามถนนสายบ้านป้อม-คลองตะเคียน ด้านหลังวัดไชยวัฒนารามเข้าท่วมชุมชนหลังวัดและชุมชนวัดลอดช่องกว่า 200 หลังคาเรือนอย่างรวดเร็วในระดับความสูงเกือบ 2 เมตร ทำให้ชาวบ้านที่ยังนอนอยู่แตกตื่นหนีตายและขนย้ายข้าวของอย่างอลหม่าน แต่ส่วนใหญ่ขนของไม่ทันทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก

ที่มา www.matichon.co.th/news_detail.php
 

น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วม 'วัดไชยวัฒนาราม' สูง 1.5 เมตร

เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 4 ต.ค. ที่วัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม อ.เมืองพระนครศรีอยุธยา เกิดเหตุน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ซัดแนวคันดินเสริมด้วยกระสอบทราย และแนวกำแพงคอนกรีต สูง 1.50 เมตร พังเสียหายทำให้น้ำไหลเข้าท่วมวัดไชยวัฒนาราม ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากนั้นน้ำได้ไหลเข้าท่วมถนนหน้าวัดไชยวัฒนาราม ส่งผลให้บ้านเรือนประถชาชน ม.8,9 และ10 จำนวน 1,700 ครอบครัว เดือดร้อน โดยขณะนี้ระดับน้ำที่ไหลเข้าท่วมภายในวัดสูง 2 เมตร ส่วนพื้นที่รอบวัดปริมาณน้ำสูง 80-150 ซม.

ในเบื้องต้นทหารจาก ม.พัน 4 สระบุรี เดินทางเข้ามาช่วยชาวบ้านเร่งขนของอพยพขึ้นที่สูงกันอย่างอลหม่าน เนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยายังไหลทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางจังหวัดเร่งหาแนวทางแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหลากเข้าท่วมโบราณสถาน
ที่มา www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20111004/412145/น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมวัดไชยวัฒนารามสูง-1.5-เมตร.html

อยุธยา..วิกฤติ

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) พร้อมด้วยนางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานมรดกโลกในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสุกุมล กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า โบราณสถานในเขตเกาะเมืองได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม กระแสน้ำที่แรงได้ไหลท่วมแนวกำแพงที่กั้นน้ำด้านข้างขาดยาวกว่า 60 เมตร เข้าท่วมโบราณสถานวัดไชยวัฒนารามทั้งหมด

รวมถึงบ้านเรือนราษฎรที่อยู่รอบนอกได้รับความเสียหาย เบื้องต้น ทางจังหวัดได้จัดเตรียมกระสอบทราย 30,000 กระสอบ เพื่อทำเป็นกำแพงกั้นน้ำตามแนวถนนรอบโบราณสถาน ก่อนสูบน้ำออกจากพื้นที่ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ให้โบราณสถานแช่น้ำนานๆ ตัวโครงสร้างของโบราณสถานที่ทำด้วยอิฐทรุดและพังทลายได้ อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรสรุปความเสียหายหลังน้ำลด เพื่อเสนอของบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมทั้งหมดต่อไป

ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า โบราณวัดไชยวัฒนารามได้รับผตลกระทบอย่างมาก เนื่องจากกระแสน้ำแรง และเป็นห่วงว่า ตัวเจดีย์รายรอบ รวมถึงซุ้มประตู ที่มีขนาดเล็ก อาจหลุดพังไปกับกระแสน้ำ อย่างไรก็ตาม หากน้ำแช่เพียง 2 - 3 วัน ตัวโครงสร้างอาจไม่ได้รับผลกระทบ แต่หากนานเกิน 7 วัน จะทำให้ตัวโครงสร้างเปื่อยยุ่ย ฐานรากจะทรุดลง ทำให้โบราณสถานพังทลาย

ทั้งนี้คงต้องรอให้รอดูสถานการณ์ หากไม่แรงมากก็จะเร่งนำกระสอบทรายมาทำเป็นกำแพงและสูบน้ำออกจากโบราณสานโดยเร็ว จากนั้น กรมศิลปากร จะให้วิศวกร สถาปนิก และนักโบราณคดีเข้ามาตรวจสอบโครงสร้างโบราณสถานทั้งหมด โดยจะนำแผนการบูรณะซ่อมแซมของปี 2539 มาเปรียบเทียบ ก่อนดำเนินการ ทั้งนี้คาดว่า น่าจะใช้งบประมาณในการบรูณะกว่า 200 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่า หลุมขุดค้นหมู่บ้านโปรตุเกสน้ำได้เข้าท่วมทั้งหมดแล้ว โดยมอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาเข้าไปสำรวจความเสียหายดังกล่าวแล้ว
ที่มา www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20111004/412275/อยุธยา..วิกฤติ.html

ระดมกู้'วัดไชยวัฒนาราม'น้ำท่วม

เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 4 ต.ค.2554 ทหารจากจังหวัดทหารบกสระบุรี และคนงานสำนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จำนวนกว่า 50 นายได้เร่งนำกระสอบทรายมาวางตามแนวถนนด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม ที่ถูกน้ำท่วมจนข้ามถนนตั้งแต่ช่วงเช้าวันเดียวกัน ซึ่งระดับน้ำยังแรง แต่จนท.ก็พยายามเร่งวางแนวกระสอบทรายให้มีความสูงจากพื้นถนนประมาณ 50-80 ซม.ตลาดระยะทาง 3 ก.ม.ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำท่วมถนนสายวัดไชยวัฒนาราม ตั้งแต่ด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม ยาวไปทางด้านหลังโบราณสถาน
นายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางไปอำนวยการด้วยตนเอง โดยเปิดเผยว่าจะทำการกู้โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ด้วยการวางแนวกระสอบทรายบนถนนหน้าวัดไชยวัฒนารามให้เสร็จ จากนั้นก็จะนำดินลงไปทับเป็นคันกั้นน้ำ เมื่อวางแนวตามถนนนี้เสร็จก็จะเข้าไปนำกระสอบทรายไปทิ้งที่แนวป้องกันที่แตกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำงานกันทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อกัน้ได้แล้วจึงจะทำการสูบน้ำออกทันที โดยคาดว่าจะใช้เวลาภายใน 3 วันสามารถกู้วัดไชยวัฒนารามได้

ปราสาทหินพิมายน้ำท่วมสูงกว่า30ซม.

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา รายงานว่าภายหลังจากในพื้นที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุ นาลแก ทำให้เกิดฝนตกหนักลงมาในพื้นที่ นานกว่า 10 ชั่วโมง ส่งผลให้เมื่อวันที่ 3 ต.ค.54 ในหลายพื้นที่มีปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร และลดลงอย่างต่อเนื่องจนกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งต่างจากที่อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทหินพิมาย ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณวัตถุที่ขึ้นชื่อของ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่ที่ดูแลปราสาทหินพิมาย ต้องเร่งนำเครื่องสูบน้ำจำนวน 4 เครื่อง มาติดตั้งบริเวณรอบปราสาทหินพิมาย เพื่อเร่งระบายน้ำที่ยังคงท่วมขังอยู่ภายในปราสาทหินพิมายสูงกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ปราสาทหินพิมาย เกิดการทรุดตัวจากการที่พื้นดินต้องอุ้มน้ำเป็นเวลานาน
นายดุสิต ทุมมากร หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมขังตัวปราสาทที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เนื่องมาจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันตั้งแต่เมื่อช่วงค่ำวันที่ 2 ต.ค. จนถึงช่วงสายวันที่ 3 ต.ค.2554 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังโดยรอบตัวปราสาท ในส่วนของกำแพงเมืองและประตูเมืองรอบนอกทั้ง 4 ทิศ ประกอบกับการระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อลงสู่ลำน้ำมูลนั้นทำได้ค่อนข้างช้าเนื่องจากปริมาณน้ำในลำน้ำมูลสูงกว่าท่อระบายน้ำ การระบายน้ำตามปกติจึงไม่ได้ผล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำขนาดกลาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว อีก 3 เครื่อง มาช่วยสูบน้ำออกจากบริเวณปราสาทหินพิมาย ซึ่งล่าสุดสถานการณ์ ณ ปัจจุบันทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้สูบน้ำออกจากบริเวณปราสาทจนแห้งสนิทแล้ว
นายดุสิต กล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าน้ำที่ท่วมขังตัวปราสาทในครั้งนี้จะท่วมอยู่ไม่นานหนัก แต่ก็อาจจะส่งผลต่อรากฐานของปราสาทบ้าง โดยเฉพาะในส่วนที่ถูกน้ำท่วมเป็นประจำอย่างเช่นที่ประตูและกำแพงปราสาทด้านทิศเหนือ ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำจักราช ลำน้ำสาขาของลำน้ำมูล แต่หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ทางอุทยานฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางรัฐบาลจำนวน 25 ล้านบาทเพื่อทำการบูรณซ่อมแซมมาแล้ว ซึ่งกำหนดการเดิมจะเสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2555 ที่จะถึงนี้ แต่ก็ต้องมาประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตามส่วนตัวยังคงมั่นใจว่ารากฐานของตัวปราสาทและส่วนประกอบโดยรอบยังคงมั่นคงแข็งแรงดี แต่ทั้งนี้ด้วยอายุของปราสาทที่เก่าแก่เกือบ 1 พันปี อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวหาทางป้องกันเหตุน้ำท่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะให้โบราณสถานแห่งนี้เสียหายได้
แนวทางและวิธีป้องกันในเบื้องต้นที่ทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ได้เตรียมการไว้ คือ ขณะนี้ได้มีการประสานไปยังทางสำนักชลประทานในพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในลำน้ำมูลอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ทราบว่าปริมาณน้ำก้อนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ตอนบนของอำเภอพิมาย จากอิทธิพลของพายุนาลแก จะไหลเข้ามาสมทบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ภายในลำน้ำมูลที่ปริ่มจะล้นตลิ่งอยู่ในขณะนี้ภายใน 2 วันข้างหน้า ซึ่งทางอุทยานฯได้มีการเตรียมกระสอบทรายทำเป็นแนวกั้นน้ำริมลำน้ำมูลและลำน้ำสาขาทั้งหมดไว้รอบตัวปราสาทไว้แล้วส่วนหนึ่ง แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมแนวกระสอบทรายให้มีความสูงและความมั่นคงแข็งแรงขึ้นอีกชั้น ซึ่งจะต้องใช้กระสอบทรายรวมแล้วประมาณ 30,000 ใบ โดยได้ร้องขอการสนับสนุนกระสอบทรายไปยังทางกองทัพภาคที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้วและคาดว่ากระสอบทรายทั้งหมดจะมาถึงภายใน 1 - 2 วันนี้

รมว.สธ.ย้ำช่วยเหลือประชาชนที่อพยพหนีน้ำ

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 1เดินทางไปตรวจเยี่ยมรพ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และมีกระแสข่าวว่าน้ำอาจจะทะลักท่วมเข้ามา โดยรมว.สาธารณสุข ได้หารือกับผู้บริหารของโรงพยาบาล เพื่อที่จะเตรียมแผนในการอพยพผู้ป่วย กรณีเกิดน้ำท่วม โดยเน้นย้ำให้โรงพยาบาลได้ประสานกับทางอำเภอในการออกไปให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่อาศัยอยู่ตามใต้สะพาน และอาศัยอยู่กับบ้านฉุกเฉินของป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่อยู่ริมถนนให้มากยิ่งขึ้น

ลำปางประชุมรับมือพายุ"นาลแก"

ที่ห้องประชุมราชพฤกษ์ เทศบาลนครลำปาง นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ปลัดจังหัดลำปาง ได้เป็นประธานประชุมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครลำปางและเทศบาลเมืองเขลางค์นคร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย เทศบาลนครลำปาง สำนักงานชลประทานจังหวัด แขวงการทางจังหวัดลำปาง โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำปาง การรถไฟลำปาง สถานีอุตุนิยมวิทยาลำปาง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง (ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 10 ลำปาง) ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา ร่วมถึงการเตรียมรับมือพายุ นาลแก ที่กำลังจะเข้าสู่ประเทศไทยในอีก 2 วันนี้ที่ประชุมมีมติในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างหนัก คือ หมู่บ้านทองประเสริฐ และบริเวณสี่แยกภาคเหนือไปจนถึงทางเข้าหมู่บ้านหนองยาง ให้เจาะเกาะกลางถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าทางเข้าวัดนาก่วมใต้เพื่อวางท่อระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ สูบน้ำลงท่อระบายออกไปสู่แม่น้ำวังให้เร็วที่สุด

ส่วนบริเวณสี่แยกภาคเหนือให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 จุด เพื่อระบายลงสู่แม่น้ำวัง และคลองชลประทาน ซึ่งจะเป็นการเร่งระบายให้เร็วที่สุด เพื่อคลี่คลายปัญหาในขณะนี้ และเตรียมรับมือพายุโซนร้อน "นาลแก" ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ในช่วงระยะตลอดสัปดาห์นี้นายพงค์กร รัตนประเวศน์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครลำปาง กล่าวว่า หลังจากที่ปริมาณน้ำบริเวณ ถนนป่าขาม พระบาทหนองหมู และหมู่บ้านสุขสวัสดิ์ แห้งลง เทศบาลนครลำปาง ได้ส่งหน่วยบรรเทาสาธารณภัยออกให้บริการล้างถนนและบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม โดยประชาชนสามารถนำเศษสิ่งปฏิกูล หรือขยะที่มาจากน้ำท่วมครั้งนี้รวบรวมไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ทางเทศบาลนครลำปางเก็บกวาด รักษาความสะอาด นอกจากนี้ เทศบาลนคร ร่วมกับ โรงพยาบาลลำปาง ได้ออกเยี่ยมเยียน และแจกจ่ายยาสามัญประจำบ้านแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้
สำหรับ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครลำปาง มี 3 จุด ได้แก่ ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เทศบาลนครลำปาง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยโรงเรียนบ้านปงสนุก และศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สุขสวัสดิ์ ทั้งนี้ ประชาชนผู้ประสบภัยสามารถแจ้งเหตุ ขอความช่วยเหลือ สอบถามรายละเอียด และรายงานสถานการณ์ ได้ที่ 199 ตลอด 24 ชั่วโมง

ม.เนชั่นลำปางมอบน้ำดื่มช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตภาคเหนือ (โยนก) จังหวัดลำปาง กล่าวว่าจากการที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง และอำเภอต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่บ้านนาแก้วตะวันตก หมู่ 4 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง ซึ่งมีราษฎรพักอาศัยอยู่ 310 ครัวเรือน 1,140 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนประสบภัยน้ำท่วมจากน้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าสู่หมู่บ้านและบ้านเรือนราษฎร ตลอดจนถึงถนนในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละจุดมีความลึกถึง 1-2 เมตร สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก
ดังนั้น มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตภาคเหนือ (โยนก) จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงสยมพร ศิรินาวิน โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น เล็งเห็นถึงความสำคัญกับปัญหาทางภัยธรรมชาติที่กระทบถึงประชาชนในจังหวัดลำปาง จึงได้นำน้ำดื่มชานม เมจิกฟาร์ม จำนวน 210 กล่อง รวม 5,040 ขวด และข้าวสาร จำนวน 100 ถุง มอบให้กับนางจิตภา ขัดเรือน ผู้ใหญ่บ้านนาแก้วตะวันตก หมู่ 4 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง เพื่อแจกจ่ายกับราษฎร ที่ได้รับความเดือดร้อนประสบภัยน้ำท่วมจากน้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าสู่หมู่บ้านและบ้านเรือนราษฎร มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตภาคเหนือ (โยนก) จังหวัดลำปาง เชื่อว่าจะเป็นกำลังใจ และสามารถช่วยเหลือ พี่น้องชาวบ้านนาแก้วตะวันตก ที่กำลังประสบภัยภิบัติทางธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง

น้ำท่วมถนนพรานกระต่าย-สุโขทัยรถผ่านไม่ได้

เมื่อเวลา 19.00 น.ระดับน้ำป่าจากน้ำป่าบ้านหนองตระกร้า บ้านโพธิ์พัฒนา บ้านเขาสว่าง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ที่ไหลผ่านถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย ที่อำเภอพรานกระต่าย เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ขณะนี้มีระดับน้ำสูงกว่า 40 เซนติเมตรแล้วระยะทางยาว 2 กิโลเมตร รถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ แม้แต่รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เครื่องยนต์ยังดับ จึงต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางสายอื่น หากมาจากจังหวัดสุโขทัย จะเข้ากำแพงเพชร ต้องใช้เส้นทางคุยบ้านโอง เขาคีรีส ทะลุ บ้านป่าถั่ว ถนนสายกำแพงเพชร พิจิตร แต่เส้นทางดังกล่าวจะมีเส้นทางเชื่อมต่อหลายเส้นทาง
ส่วนสาเหตุนั้น เนื่องจากฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืน ได้หลากเข้าท่วม บ้านเรือน ตลาด ห้างโลตัสและโรงเรียน รวมทั้งโรงพยาบาลอำเภอพรานกระต่าย ซึ่งขณะนี้ ที่โรงพยาบาลอำเภอพรานกระต่าย แพทย์พยาบาลและคนไข้ ติดอยู่ในอาคารของโรงพยาบาลไม่สามารถเข้าออกไปมาได้ เนื่องจากรอบโรงพยาบาล มีแต่น้ำป่าที่ไหลผ่านท่วมขังมีระดังสูง
นายสดุดี พุทธัง ปลัดอาวุโสอำเภอพรานกระต่ายเปิดเผยว่า ได้ติดป้ายประกาศให้ทราบว่าเส้นทางสายดังกล่าว มีระดับน้ำสูง ช่วงเช้ารถสามารถผ่านไปมาได้ และให้ระวังอันตรายหากน้ำป่ายังหลากมาสมทบอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักในเขตพื้นที่เหนืออำเภอพรานกระต่าย ตรงกันข้ามหากไม่มีเหตุการณ์เพิ่มปริมาณน้ำป่า รุ่งเช้าระดับน้ำก็จะลดลง เนื่องจากพื้นที่อำเภอพรานกระต่าย มีลักษณะเป็นทางไหลผ่านของน้ำ แต่ในชุมชนและตัวเทศบาลตำบลน้ำจะท่วมขังหลายวัน ขณะนี้ทางอำเภอได้จัดเตรียมถุงยังชีพไว้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้วในเช้าวันพรุ่งนี้

ปทุมธานีเครียดน้ำท่วมบ้านผูกคอตาย

พ.ต.ท.ชัยทัศ ลิมกุล สารวัตรเวรสอบสวน สภ.ปากคลองรังสิต อ.เมืองปทุมธานี ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่ามีเหตุคนผูกคอตายในน้ำหลังบ้านเลขที่ 65/1 ชุมชนศาลาแดง ถนนบางกะดีสายใน ม.1 ต.บางกะดี อ.เมือง จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.อ.กิตติ สกุณี ผกก.ฯ และมูลนิธิร่วมกตัญญู
ในที่เกิดเหตุภายในสวนหลังบ้านดังกล่าวพบศพนายสุนทร คุ้มกัน อายุ 34 ปีได้ใช้เชือกไนล่อนสีเขียวผูกคอห้อยกับกิ่งก้านต้นมะขาม ไม่สวมเสื้อ นุ่งกางเกงขาสั้น สภาพศพตั้งแต่ช่วงเอวลงมาแช่อยู่ในน้ำเจ้าหน้าที่ฯจึงให้อาสาสมัครมูลนิธิฯนำศพขึ้นมาบนบกเพื่อชันสูตรพลิกศพ เจ้าหน้าที่ฯ ม่พบบาดแผล และร่องรอยการถูกทำร้ายคาดว่าเสียชีวิตมาแล้วไม่เกิน 12 ชม. ก่อนมอบศพให้มูลนิธิฯนำส่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อผ่าพิสูตรหาสาเหตุการตายอีกครั้ง
นายชูศักดิ์ นามแก้ว อายุ 56 ปี ลุงผู้ตาย ซึ่งมีอาชีพเป็นสัปเหร่อวัดไผ่ตัน กรุงเทพฯ กล่าวเปิดเผยว่าก่อนเกิดเหตุผู้ตายได้เคยไปเป็น ผช.สัปเหร่อ ที่วัด หลังจากนั้น ได้มาสมัครงานเป็นพนักงานขับรถที่ บ.ไทยบาจ จก.ที่อยู่ใกล้บ้าน โดยได้อาศัยอยู่กับนายบุญส่ง อายุ 56 ปี และนางอรทัย อายุ 54 ปี พ่อและแม่ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้ตายได้ไปหาตนที่วัดและบ่นว่าเครียด เนื่องจากที่บ้านซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว น้ำได้ท่วมพื้นและอยู่กันอย่างลำบาก บวกกับมีปัญหาเรื่องครอบครัว ตนจึงพยายามบอกว่าใจเย็นๆเดี๋ยวก็มีหน่วยงานมาช่วยเหลือ จนกระทั่งเช้าวันนี้(4 ต.ค.)นายสุรชัย คุ้มกัน อายุ 36 ปี พี่ชายผู้ตายที่มาพบศพ ได้โทรศัพท์มาบอกตนจึงรีบเดินทางมาดู โดยไม่คิดว่าจะคิดสั้นเพียงนี้
ด้าน พ.ต.ท.ชัยทัศ ลิมกุล สารวัตรเวรฯกล่าวว่าในเบื้องต้นจากการสอบสวนทราบว่าผู้ตายอาจจะมีความเครียดทั้งด้านครอบครัว และด้านสภาพความเป็นอยู่เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมหรือไม่นั้น ก็คงจะต้องมีการสอบสวนพยานแวดล้อมและสาเหตุการฆ่าตัวตายครั้งนี้ให้แน่ชัดอีกครั้งต่อไป

ทบ.เตรียม 9 ค่ายทหารลพบุรีจัดที่พักชั่วคราวประชาชนถูกน้ำท่วม

พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่ลพบุรียังคงวิกฤต ในขณะที่กองทัพบกได้สั่งให้หน่วยทหาร ในจังหวัดลพบุรี ปรับการบริหารจัดการและการช่วยเหลือประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่ และทันต่อสถานการณ์ โดยมอบหมายให้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ พร้อมกระจายกำลังพลยุทโธปกรณ์ สิ่งของบรรเทาทุกข์ การให้บริการ ทางการแพทย์ อำนวยความสะดวกในการสัญจร และการช่วยเหลือในทุกด้านให้ครอบคลุมทั่วถึง ในทุกพื้นที่ นอกจากนี้ตามเส้นทางคมนาคมที่ถูกน้ำท่วม หน่วยทหารของกองทัพบกจะดำเนินการปักเสาแสดงขอบถนน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและให้ประชาชนเดินทางอย่างปลอดภัย ขณะเดียวกันจะเพิ่มการใช้อากาศยานในการลาดตระเวน การขนย้ายผู้บาดเจ็บ การขนส่งถุงยังชีพเพื่อนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้กองทัพบกได้ประสานกองทัพอากาศขอรับการสนับสนุนเครื่องบินกระจายเสียง เพื่อใช้แจ้งเตือนข่าวสาร และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมาก ต้องอพยพออกจากบ้านไปพักอาศัยในพื้นที่ปลอดภัย เช่น ริมถนน หรือที่พักชั่วคราวที่จังหวัดจัดเตรียมไว้ให้
ล่าสุดกองทัพบกมอบให้ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นศูนย์กลางในการจัดเตรียมพื้นที่ในค่ายทหารในจังหวัดลพบุรี จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การบินทหารบก กองพลทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา โรงพยาบาลอานันทมหิดล กองบินที่ 2 และศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็นสถานที่พักอาศัยชั่วคราว รองรับประชาชนที่เดือดร้อน และจำเป็นต้องอพยพออกจากบ้านเรือน
ทางจังหวัดลพบุรีได้วางแผนการอพยพประชาชนในขั้นต้นโดยให้สามารถรองรับได้ประมาณ 60,000 คน ซึ่งขณะนี้ค่ายทหารทั้ง 9 แห่ง ได้ปรับอาคารเป็นสถานที่พักชั่วคราว จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถเข้าพักอาศัยได้ทันที มีห้องน้ำบริการอย่างเพียงพอ และสามารถติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัยจากทางราชการได้ มีอาหารสดบริการครบ 3 มื้อ พร้อมทั้งมีหน่วยแพทย์ให้บริการรักษาพยาบาล ทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจ พร้อมจัดชุดนันทนาการเข้าทำกิจกรรมร่วมกับประชาชนเพื่อคลายความวิตกกังวล ส่วนความคืบหน้าในการอพยพประชาชนเข้าพื้นที่ กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ร่วมระหว่างทางจังหวัดลพบุรี ส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
ที่มา www.komchadluek.net/detail/20111004/110958/ระดมกู้วัดไชยวัฒนารามน้ำท่วม.html

กรมศิลป์หมดปัญญากู้วัดไชยฯ รอน้ำลด

เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ จ.ลำปาง นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) พร้อมด้วย นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจโบราณสถานที่ได้รับความเสียหายจากพายุฝนเมื่อต้นสัปดาห์ ที่ผ่านมา
นางสุกุมล กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ ฐานบัวปากระฆัง และมาลัยเถาว์ ด้านทิศตะวันตกของพระธาตุหมื่นครื้น ที่มีอายุเก่าแก่ กว่า 1,300 ปี พังทลายลงมา ทั้งนี้สำนักศิลปากร ที่ 7 น่าน ได้เร่งดำเนินการบูรณะด้วยการเสริมคานคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ฐานเขียนไปถึงองค์ระฆังเพื่อยึดเหนี่ยวไม่ให้แตกตัว ส่วนอิฐใต้องค์ระฆังที่พังทลายลงมานั้น จะเสริมอิฐให้มีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น ส่วนบริเวณอื่นๆ ที่เสียหาย จะเปลี่ยนอิฐที่เสื่อมสภาพออกแล้วเปลี่ยนอิฐใหม่แทน นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างรางระบายน้ำออกและป้องกันความชื้นที่จะส่งผลกระทบต่อพระธาตุ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดทำรายละเอียด เพื่อนำเสนอของบกลางในการบูรณะซ่อมแซม เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 5 ล้านบาท
ด้านนางโสมสุดา กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ว่า สถานการณ์น้ำที่บริเวณวัดไชยวัฒนาราม มีระดับสูงขึ้นจากเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ถึง 20 เซนติเมตร ส่งผลให้กรมศิลปากรไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบความเสียได้ และไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนงานที่จะมีการสูบน้ำออกจากวัดไชยวัฒนารามได้ภายใน 2 - 3 วันนี้ ซึ่งคงต้องรอให้ระดับน้ำลดลงกว่านี้ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ เจดีย์ขนาดเล็กรอบวัดไชยฯ ที่แช่น้ำมาหลายวัน พบว่า ปูนซีเมนต์ที่ฉาบไว้ได้หลุดร่อนออกเหลือเพียงก้อนอิฐเท่านั้น ซึ่งหากแช่น้ำนานกว่านี้อาจทำให้องค์เจดีย์พังทลายได้
"ยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไปกู้โบราณสถานโดยเฉพาะวัดไชยฯ เพราะกระแสน้ำแรงและปริมาณน้ำก็สูงมากขึ้น รถที่จะเข้าไปทำงานเข้าไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กรมศิลป์เฝ้าสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อรอน้ำลด จากนั้นจะเร่งดำเนินการออกจากวัดไชยฯทันที" นางโสมสุดา กล่าว

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังมีโบราณสถานในจ.พระนครศรีอยุธยาที่น่าห่วงอีกหลายแห่ง ได้แก่ วัดเชิงท่า วัดเจ้าย่า ซึ่งแช่น้ำมาเดือนกว่าแล้ว รวมถึงโบราณสถานฝั่งอโยธยา ซึ่งน้ำได้ท่วมทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ยังได้รับรายงานว่ามีโบราณสถานในจังหวัดลพบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี โดยเฉพาะที่ลพบุรีที่อำเภอบ้านหมี่ วัดไลย์ ได้รับรายงานว่า เจ้าหน้าที่ต้องพายเรือเข้าไปเฝ้าระวังภาพจิตรกรรมฝาผนัง และลายปูนปั้น

"สมเด็จเกี่ยว"ปล่อยขบวนคาราวานช่วยวัดน้ำท่วม

ที่วัดสระเกศฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานปล่อยขบวนคาราวาน ศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วมของคณะสงฆ์ ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยจะนำเครื่องอุปโภค บริโภคพร้อมทั้งปัจจัยรวมเป็นเงิน 1,350,000 บาท ไปถวายวัดในพื้นที่ประสบภัย ที่จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี และสระบุรี ซึ่งมีวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้รวม 189 วัด
ด้านพระราชรัตนมงคล ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศฯ กล่าวว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงห่วงพระสงฆ์และประชาชนที่ประสับภัยน้ำท่วมเป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ขอความร่วมมือวัดทุกวัดที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมทั่วประเทศ บิณฑบาต ข้าวสาร อาหารแห้ง ในช่วงออกพรรษา เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด(พศจ.)และวัดประจำจังหวัดเป็นศูนย์กลางรวบรวมอาหารแห้งต่างและปัจจัยต่างๆ ในการนำส่งมอบต่อไปยังพระสงฆ์และผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามพื้นที่ต่างๆต่อไป
ขณะเดียวกันสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ยังเปิดเป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของและปัจจัย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วย โดยประชาชนสามารถนำสิ่งของต่างๆโดยเฉพาะน้ำดื่มมาบริจาคที่ 1. ศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วมของคณะสงฆ์ ตั้งอยู่ที่ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2620-2280 2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฝ่ายธรรมวิจัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2222-2835 และฝ่ายธรรมวิจัย มจร วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 035-248000
ที่มา www.komchadluek.net/detail/20111006/111113/กรมศิลป์หมดปัญญากู้วัดไชยฯรอน้ำลด.html

เจ้าหน้าที่กรมศิลป์-ชาวบ้านกว่า 100 ชีวิตติดอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


 
"ดังนั้น ต้องเร่งหาวิธีเข้าไปช่วยเหลือด่วน เพราะขณะนี้ประสบปัญหาขาดน้ำ ขาดอาหาร จึงได้แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้เข้าไปช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนแล้ว ส่วนกรมศิลปากรได้เร่งจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคเข้าไปช่วยเหลือ แต่ยังเป็นห่วงในเรื่องของการขนส่งที่ไม่สามารถเข้าไปถึงสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ขณะนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทางนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เตรียมทีมเจ็ตสกีจากจ.ชลบุรี มาคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการขนส่งสิ่งของช่วยเหลือเข้าไปในอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว" นางโสมสุดา กล่าว
ด้านนางสุกุมล กล่าวว่า ขณะนี้นายสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ประสานกลุ่มเพื่อน และประชาชนที่มีเจ็ตสกีในจังหวัดชลบุรีเพื่อเข้าช่วยเหลือชาวบ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังติดอยู่ในบ้านและต้องการออกมายังศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย ขณะนี้รวบรวมได้แล้วไม่ต่ำกว่า 40 ลำ และประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้วโดยตั้งจุดประสานงานอยู่ที่ปั้มน้ำมันเชลล์ วังน้อย นอกจากนี้ยังประสานหน่วยกู้ภัยจ.ชลบุรีเข้ามาช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ วธ.ยังได้เปิดให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินบูรณะโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วม ตามโครงการบูรณะโบราณสถาน กรมศิลปากร ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนิน ชื่อบัญชีโครงการบูรณะโบราณสถาน กรมศิลปากร เลขที่ 081-0-09603-6 ได้ตั้งแต่บัดนี้